วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

ประวัติย่อพระอุปคุต

พระอุปคุต ประวัติทางพระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า พระอุปคุตเป็นพระอรหันต์สาวกพระพุทธเจ้า มีอิทธิฤทธิ์ และอภิญญาญาณสูง เป็นเลิศด้านโชคลาภ และปราบภัยมารภูตผีปีศาจ มีศิษย์สาวกที่เป็นพระอรหันต์ถึง 18,000 รูป ท่านประทับจำศีลอยู่ที่ปราสาทแก้วใต้เมืองบาดาล ตามตำนานได้กล่าวเอาไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่าพระอุปคุตจะมาปราบพญามารให้สยบลงได้ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้สร้างมหาวิหารเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้น 84,000 องค์ไว้ทั่วดินแดนชมพูทวีป และได้จัดงานสมโภชฉลองเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นเวลา 7 ปี 7 เดือน 7 วัน แต่พญามารได้มาก่อกวนทำลายพิธี จึงได้กราบอาราธนา พระอุปคุตเถร ขึ้นจากใต้เมืองบาดาล เพื่อเป็นผู้ปราบพญามาร จนพญามารสิ้นฤทธิ์ และยอมเคารพสยบต่อพระพุทธศาสนา พระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้ขจัดเดียรถีที่แฝงมาในพระพุทธศาสนาจนหมดสิ้นไป นำความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนากลับคืนมา พระอุปคุตเถระปางบัวเข็มนี้จึงเป็นปางที่ท่านเข้านิโรจสมาบัติในสะดือทะเล นั่นเอง 

พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม เป็นพระที่เป็นที่นิยมของชาวอินเดีย มอญ และคนไทยทางเหนือและอีสาน สมัยก่อนพระมอญได้นำพระบัวเข็มมาถวายรัชกาลที่ 4 ในตอนที่พระองค์ทรงผนวชอยู่ แม้รัชกาลที่ 5 ก็ยังทรงกล่าวถึงความเป็นมาในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือนด้วย ปัจจุบัน ยังมีความเชื่อในหมู่ชาวล้านนาว่า พระบัวเข็มหรือพระอุปคุตยังมีชีวิตอยู่ ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ชาวล้านนาจะเรียกว่าเป็น วันเพ็งปุ๊ด พระอุปคุตจะออกบิณฑบาตในร่างเณรน้อย และจะออกมาเวลาเที่ยงคืน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้น 

ในอดีตกาลนับพันปีนั้น มีกิ่งไม้ทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาเกิดหักลงมา พระเถระที่นั่นเห็นว่าปล่อยไว้ก็สูญเปล่า จึงได้นำมาแกะเป็นพระพุทธรูป และเรียกพระนี้ว่าŽพระทักขิณะสาขาŽ และนำไปประดิษฐานที่วัด คนสมัยโบราณนั้นไม่นิยมนำพระพุทธรูปเข้ามาไว้ในบ้าน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงนิยมนำไม้โพธิ์มาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป หากต้องการให้เกิดความรู้สึกขลังยิ่งขึ้นก็จะใช้กิ่งไม้จากหน่อศรีมหาโพธิ์ ที่ตายพรายเองที่ชี้ไปทางทิศใต้มาแกะสลัก บางตำราก็ว่าให้ใช้กิ่งที่ชี้ไปทางทิศตะวันออก ชาวพม่ารามัญ นับถือ พระอุปคุตเถระกันเป็นจำนวนมาก จึงมีการสร้างรูปบูชาของท่านขึ้นมา เห็นได้จากพระบูชาพระอุปคุตที่มีศิลปะแบบพม่าอยู่มากมาย ทั้งแบบปางบัวเข็ม และแบบปางจกบาตร 

พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม ศิลปะพม่าปางพระบัวเข็ม ที่มาของการเรียกว่า พระบัวเข็ม นั้นเนื่องจาก เป็นปางที่ พระอุปคุต ท่านเข้านิโรจสมาบัติในสะดือทะเล และเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะที่ดูจะผิดแปลกแตกต่างไปจากพระพุทธรูปองค์อื่นๆมาก พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม นั้น ท่านจะนั่ง บนฐานกุ้ง หอย ปู ปลา และบนพระเศียรมีใบบัวคว่ำลงมาคลุม มีตุ่มนูนเล็กๆ ขึ้นบริเวณพระนลาฏ พระชานุ พระพาหา และปลายพระบาทขององค์พระ เรียกว่าเข็มŽ อันเป็นเครื่องหมายที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุของพระอรหันต์ต่างๆ จะสังเกตุได้ว่าเข็มติดอยู่ 9 จุด คือที่หน้าผาก 1 ไหล่ 2 สะโพก 2 มือ 2 เข่า 2 เดิมนั้นไม่มีการติดเข็มที่พระอุปคุต แต่ใช้พระบรมสารีริกธาตุติดที่องค์พระ 9 จุดดังกล่าว จึงเป็นที่มาของชื่อพระบัวเข็มŽ 

การบูชา พระอุปคุต นี้มีความหมายเป็น 2 นัยยะ คือ
1.พระอุปคุตท่านเป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ปราบมาร จึงช่วยปกป้องคุ้มครองให้ผู้ที่บูชาห่างไกลจากภัยอันตรายต่าง ๆ
2. คือ ท่านจำศีลอยู่ในน้ำ จึงช่วยให้ผู้บูชาอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ จึงนิยมที่จะหา พระอุปคุต ไว้บูชาติดบ้านเพื่อความสงบร่มเย็น


คำบูชาขอลาภพระอุปคุต


นะโม ๓ จบ

มหาอุปคุตโต จะมหาลาโภ พุทโธลาภัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ราชาปุริโส อิถีโยมานัง นะโมโจรา เมตตาจิตตัง เอหิจิตติจิตตัง ปิยังมะมะ สะเทวะกัง สะพรหมมะกัง มะนุสสานัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ เอหิจิตติ จิตตังพันธะนัง อุปะคุตะ จะมหาเถโร พุทธะสาวะกะ อานุภาเวนะ มาระวิชะยะ นิระภะยะ เตชะปุญณะตา จะเทวะตานัมปิ มะนุสสานันปิ เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ อิมังกายะ พันธะนัง อะทิถามิ ปะอัยยิสสุตัง อุปัจสะอิ ฯ

คำบูชาพระอุปคุต

อุปะคุตโต จะมะหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะลัญจะ โส อิทานิ มะหาเถโร นะมัสสิตะวา ปะติฎฐิโต อะหัง วันทามิ อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะ มาหาเถรัง ยัง ยัง อุปัททะวังชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ

หรือ (แบบย่อ) อุปะคุตโต จะมะหาเถโร ยักขาเทวา นะระปูชิโต โสระโห ปัจจะ ยาทิมปิ มะหาลาภัง ภะวันตุเมฯ(เกิดโชคลาภและคุ้มกันภัยภิบัติอันตรายทั้งปวง)

คำบูชาพระมหาอุปคุต

นโม ๓จบ

พระมหาอุปคุตโต พระมหาอุปคุตตัง จะมหาเถโรสัพเพชะนา พะหูชะนา อิถีชะนา มามังพุทธะจิตตัง จะมหาลาโภ พุทธะธัมโม จะมหาลาภังพุทธะสังฆัง จะมหาสัจจัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ

อุปคุตตะ จะมหาเถโรสัพพะเสน่หาปุพชิโต โสระโห อุปะคุตะ ปัจจะยา ธิมะหิ อุตตะโม โหติ สัพพะทุกขะสัพพะภะยะ สัพพะโรคะ พุทธา ธัมมา สังฆา อานุภาเวนะ วินาสสันติ(นิยมสวดบูชาพระบัวเข็ม หรือพระธาตุอุปคุต)

คำบูชาพระบัวเข็ม

นโม ๓จบ

กิจจะมาคะอุปคุตโต อะมะหาเถโร สัมพุทเธวิยาคะโต มาระรัญจะ โสอิทานิจะมะหาเถโร นะมัดปะสิทตะวาปะ ถิติโกอหัง วันทามิ พาเนวะอุปคุตตัง จะมะ หาเถรังยังยังอุปัทธะวังชาติ วิทังเสนติ อะเสสะโต นโมพุทธายะ พระบัวเข็มจะมะหาเถโรสัพพะลาภังภะวันตุเม อิติปิโสภะคะวา พุทโธชัยโย ธัมโมชัยโย สังโฆชัยโย เมตตาฉิมพาลีจะมะหา เถโร สัพพะลาภัง ตะวันตุเม ฯ ชัยยะตัง ปัตถะพีตับภัง สามินโทโสราชาปูเชมิ ฯ

หรือ จิตติจิตติ มิตติเอหิมะมะ อุปปะคุตโต จะมะหาเถโรนานาปาระมิ สัมมะปัณโน อิติปิโสภะคะวา มะอะอุเมตตา จะมะหาราชา สัพพะสะเนหา จะปูชิตาสัพพะทุกขัง มะหาลาภัง สัพพะโกพัง วินาสสันติ

วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

นาคในพระไตรปิฎก


นาคในพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ข้อที่ ๕๑๙ – ๕๓๐   หน้าที่ ๒๗๐-๒๗๕
นาคสังยุต 
๑ . สุทธกสูตร
ว่าด้วยกำเนิดนาค ๔ จำพวก

[ ๕๑๙ ] พระนครสาวัตถี . ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ จำพวกนี้ . ๔ จำพวกเป็นไฉน ?
คือ นาคที่เป็นอันฑชะ เกิดในไข่ ๑ นาคที่เป็นชลาพุชะ เกิดในครรภ์ ๑
นาคที่เป็นสังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล ๑ นาคที่เป็นอุปปาติกะ เกิดผุดขึ้น ๑ .

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ จำพวกนี้แล .

จบ สูตรที่ ๑ .
๒ . ปณีตตรสูตร 
ว่าด้วยความประณีตของกำเนิดนาคแต่ละจำพวก

[ ๕๒๐ ] พระนครสาวัตถี . ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ จำพวกนี้ .

๔ จำพวก เป็นไฉน ? คือ นาคเป็นอัณฑชะ ๑ นาคที่เป็นชลาพุชะ ๑ นาคที่เป็นสังเสทชะ ๑
นาคที่เป็นอุปปาติกะ ๑ . ในนาค ๔ จำพวกนั้น นาคที่เป็นชลาพุชะ สังเสทชะ และอุปปาติกะ
ประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะ . นาคที่เป็นสังเสทชะและอุปปาติกะ ประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะ
และชลาพุชะ . นาคที่เป็นอุปปาติกะ ประณีตกว่านาคที่เป็นอัณฑชะ ชลาพุชะและสังเสทชะ .

ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำเนิดของนาค ๔ จำพวกนี้แล .

จบ สูตรที่ ๒ .
๓ . อุโปสถสูตรที่ ๑ 
ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้นาคที่เป็นอัณฑชะรักษาอุโบสถ

[ ๕๒๑ ] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี . ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถาม
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้นาคที่เป็นอัณฑชะ
บางพวกในโลกนี้ รักษาอุโบสถและสละกายได้ ?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรภิกษุ นาคบางพวกที่เป็นอัณฑชะในโลกนี้ มีความคิด อย่างนี้ว่า
เมื่อก่อน พวกเราเป็นผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
พวกเรานั้น กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เมื่อตายไป จึงเข้าถึงความเป็นสหาย
ของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ ถ้าวันนี้พวกเราพึงประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจไซร้
เมื่อเป็นอย่างนี้ เมื่อตายไป พวกเราจะพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เชิญพวกเรามาประพฤติสุจริต
ด้วยกายด้วยวาจา ด้วยใจเสียในบัดนี้เถิด .

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่อง
ให้นาคที่เป็นอัณฑชะบางพวกในโลกนี้ รักษาอุโบสถและสละกายได้ .
จบ สูตรที่ ๓ .
๔ . อุโปสถสูตรที่ ๒ 
ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้นาคที่เป็นชลาพุชะรักษาอุโบสถ

[ ๕๒๒ ] พระนครสาวัตถี . ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่อง
ให้นาคที่เป็นชลาพุชะบางพวกในโลกนี้ รักษาอุโบสถและสละกายได้ .
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรภิกษุ นาคบางพวกที่เป็นชลาพุชะในโลกนี้ มีความคิดอย่างนี้ว่า
เมื่อก่อน พวกเราเป็นผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
พวกนั้นกระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เมื่อตายไปจึงเข้าถึงความเป็นสหาย
ของพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ ถ้าวันนี้ พวกเราพึงประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจไซร้
เมื่อเป็นอย่างนี้ เมื่อตายไปพวกเราจะพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เชิญพวกเรามาประพฤติสุจริต
ด้วยกาย ด้วยวาจาด้วยใจ เสียในบัดนี้เถิด .

ดูกรภิกษุ ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้นาคที่เป็นชลาพุชะ บางพวกในโลกนี้
รักษาอุโบสถและสละกายได้ .
จบ สูตรที่ ๔ .
๕ . อุโปสถสูตรที่ ๓ 
ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้นาคที่เป็นสังเสทชะรักษาอุโบสถ 


[ ๕๒๓ ] พระนครสาวัตถี . ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่อง
ให้นาคที่เป็นสังเสทชะ บางพวกในโลกนี้ รักษาอุโบสถและสละกายได้ ?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรภิกษุ นาคบางพวกที่เป็นสังเสทชะในโลกนี้ มีความ คิดอย่างนี้ว่า
เมื่อก่อน พวกเราเป็นผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ พวกเรา
นั้นกระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เมื่อตายไป จึงเข้าถึงความเป็นสหาย
ของพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ ถ้าวันนี้ พวกเราพึงประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา
ด้วยใจไซร้ เมื่อเป็นอย่างนี้ เมื่อตายไป พวกเราจะพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
เชิญพวกเรามาประพฤติสุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เสียในบัดนี้เถิด .

ดูกรภิกษุ ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้นาคที่เป็นสังเสทชะบางพวกในโลกนี้
รักษาอุโบสถและสละกายได้ .
จบ สูตรที่ ๕ .
๖. อุโปสถสูตรที่ ๔ 
ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้นาคที่เป็นอุปปาติกะรักษาอุโบสถ


[ ๕๒๔] พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้นาค
ที่เป็นอุปปาติกะบางพวกในโลกนี้ รักษาอุโบสถและสละกายได้?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรภิกษุ นาคบางพวกที่เป็นอุปปาติกะในโลกนี้
มีความคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน พวกเราได้เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
พวกเรานั้นกระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เมื่อตายไป จึงเข้าถึงความเป็นสหาย
ของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ ถ้าวันนี้ พวกเราพึงประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
เมื่อเป็นอย่างนี้ เมื่อตายไป พวกเราจะพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เชิญพวกเรามาประพฤติสุจริต
ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เสียในบัดนี้เถิด.

ดูกรภิกษุ ข้อนี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้นาคที่ เป็นอุปปาติกะบางพวกในโลกนี้
รักษาอุโบสถและสละกายได้.
จบ สูตรที่ ๖.
๗. สุตสูตรที่ ๑ 
ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้บุคคลเข้าถึงความเป็นสหายของนาคที่เป็นอัณฑชะ

[ ๕๒๕] พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้
เมื่อตายไปเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ พระเจ้าข้า?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสอง ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาได้สดับมาว่า
พวกนาคที่เป็นอัณฑชะ มีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก. เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความ เป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ.

ดูกรภิกษุ ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคน ในโลกนี้ เมื่อตายไป เข้าถึงความเป็นสหาย
ของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ.
จบ สูตรที่ ๗.
๘. สุตสูตรที่ ๒ 
ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้บุคคลเข้าถึงความเป็นสหายของนาคที่เป็นชลาพุชะ

[ ๕๒๖] พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคน
ในโลกนี้เมื่อตายไป เข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ พระเจ้าข้า?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำกรรม ทั้งสองด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาได้สดับมาว่า
พวกนาคที่เป็นชลาพุชะ มีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก. เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึง เข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ. ครั้นตายไป เขาย่อมเข้าถึง
ความเป็นสหายของ พวกนาคที่เป็นชลาพุชะ.

ดูกรภิกษุ ข้อนี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไป เข้าถึงความเป็นสหาย
ของพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ.
จบ สูตรที่ ๘.
๙. สุตสูตรที่ ๓ 
ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้บุคคลเข้าถึงความเป็นสหายของนาคที่เป็นสังเสทชะ

[ ๕๒๗] พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
ให้บุคคลบางคนในโลกนี้เมื่อตายไป เข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ พระเจ้าข้า?
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสอง
ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาได้สดับมาว่า พวกนาคที่เป็นสังเสทชะ มีอายุยืน มีวรรณะงาม
มีความสุขมาก. เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหาย
ของพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ. ครั้นตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ.

ดูกรภิกษุ ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไป
เข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นสังเสทชะ.
จบ สูตรที่ ๙.
๑๐. สุตสูตรที่ ๔ 
ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้บุคคลเข้าถึงความเป็นสหายของนาคที่เป็นอุปปาติกะ

[ ๕๒๘] พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคน
ในโลกนี้เมื่อตายไป เข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ พระเจ้าข้า?

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสอง ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาได้สดับมาว่า
พวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ มีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก. เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็น สหายของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ. ครั้นตายไป เขาย่อมเข้าถึง
ความเป็นสหายของพวกนาคที่ เป็นอุปปาติกะ.

ดูกรภิกษุ ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไป
เข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ.
จบ สูตรที่ ๑๐.
๑๑- ๒๐ อัณฑชทานูปการสูตรที่ ๑- ๑๐
ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้บุคคลเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาค

[ ๕๒๙] พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้บุคคลบางคน
ในโลกนี้เมื่อตายไป เข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ พระเจ้าข้า?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เขาได้สดับมาว่า
พวกนาคที่เป็นอัณฑชะ มีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก. เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็น สหายของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ. เขาจึงให้ข้าว น้ำ ผ้า
ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีป และอุปกรณ์แห่งประทีป เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึง
ความเป็นสหาย ของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ.

ดูกรภิกษุ ข้อนี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อตายไป เข้าถึงความเป็นสหาย
ของพวกนาคที่เป็นอัณฑชะ.
จบ สูตรที่ ๑๑- ๒๐

๒๑- ๕๐ ชลาพุชาทิทานูปการสูตรที่ ๑- ๓๐ 
ว่าด้วยเหตุปัจจัยให้บุคคลเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาค

[ ๕๓๐] พระนครสาวัตถี. ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว
ได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคน
ในโลกนี้ เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นชลาพุชะ ... ของพวกนาค
ที่เป็นสังเสทชะ ... ของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ?
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้กระทำกรรมทั้งสองด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
เขาได้สดับมาว่า พวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ มีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก.
เขาจึงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ เมื่อตายไป ขอเราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาค
ที่เป็นอุปปาติกะ. เขาจึงให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก ประทีป
และอุปกรณ์แห่งประทีป เมื่อตายไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ.

ดูกรภิกษุ ข้อนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้บุคคลบางคนใน
โลกนี้ เมื่อตายไป เข้าถึงความเป็นสหายของพวกนาคที่เป็นอุปปาติกะ.
จบ สูตรที่ ๒๑- ๕๐
จบ นาคสังยุต.

นาคแปลกายเป็นมนุษย์มาขอบวช

เรื่องนาคแปลงกายเป็นมนุษย์มาขอบวช

นาคเป็นสัตว์เดรัจฉาน

ก็โดยสมัยนั้นแล นาคตัวหนึ่งอึดอัด ระอา เกลียดกำเนิดนาค
นาคนั้นได้มีความดำริว่าด้วยวิธีอะไรหนอ เราจึงจะพ้นจากกำเนิดนาค
และกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน.

ครั้นแล้ว ได้ดำริต่อไปว่าสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้แล
เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสงบ ประพฤติพรหมจรรย์กล่าวแต่
คำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม หากเราจะพึงบวชในสำนักสมณะ
เชื้อสายศากยบุตร ด้วยวิธีเช่นนี้ เราก็จะพ้นจากกำเนิดนาคและ
กลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน.

ครั้นแล้วนาคนั้นจึงแปลงกายเป็นชายหนุ่มแล้วเข้าไปหา
ภิกษุทั้งหลายขอบรรพชา ภิกษุทั้งหลายจึงใหเข้าบรรพชาอุปสมบท
สมัยต่อมา พระนาคนั้นอาศัยอยู่ในวิหารสุดเขตกับภิกษุรูปหนึ่ง.
ครั้นปัจจุสสมัยแห่งราตรี ภิกษุรูปนั้น ตื่นนอนแล้วออกไป
เดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ครั้นภิกษุรูปนั้นออกไปแล้ว พระนาคนั้น
ก็วางใจจำวัด วิหารทั้งหลังเต็มไปด้วยงู ขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง.

ครั้นภิกษุรูปนั้นผลักบานประตูด้วยตั้งใจจักเข้าวิหาร
ได้เห็นวิหารทั้งหลังเต็มไปด้วยงู เห็นขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง
ก็ตกใจ จึงร้องเอะอะขึ้น.
ภิกษุทั้งหลายพากันวิ่งเข้าไปแล้วได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า
“ อาวุโส ท่านร้องเอะอะไปทำไม ?”
ภิกษุรูปนั้นบอกว่า “อาวุโสทั้งหลาย วิหารนี้ทั้งหลังเต็มไป
ด้วยงู ขนดยื่นออกไปทางหน้าต่าง”

ขณะนั้น พระนาคนั้นได้ตื่นขึ้นเพราะเสียงนั้น แล้วนั่งอยู่
บนอาสนะของตน.
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “อาวุโส ท่านเป็นใคร ?”
น. “ผมเป็นนาค ขอรับ”
ภิ. “อาวุโส ท่านได้ทำเช่นนี้เพื่อประสงค์อะไร ?”
พระนาคนั้นจึงแจ้งเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแก่พระผู้มีพระภาค

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ใน
เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วได้ทรง
ประทานพระพุทธโอวาทนี้แก่นาคนั้นว่า :-
“ พวกเจ้า เป็นนาค มีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้
เป็นธรรมดา ไปเถิดเจ้านาค จงไปรักษาอุโบสถในวันที่ ๑๔
ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์นั้นแหละ ด้วยวิธีนี้ เจ้าจักพ้นจาก
กำเนิดนาค และจักกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์เร็วพลัน”.
ครั้นนาคนั้นได้ทราบว่าตนมีความไม่งอกงามในธรรมวินัยนี้
เป็นธรรมดา ก็เสียใจหลั่งน้ำตา ส่งเสียงดังแล้วหลีกไป.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า :-
ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุแห่งความปรากฏตามสภาพ
ของนาค มีสองประการนี้คือ :-
เวลาเสพเมถุนธรรมกับนางนาคผู้มีชาติเสมอกัน ๑
เวลาวางใจนอนหลับ ๑

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เหตุแห่งความปรากฏ
ตามสภาพของนาค ๒ ประการ.
ภิกษุทั้งหลาย ! อนุปสัมบัน คือ สัตว์เดรัจฉาน
ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย ) เล่มที่ ๔
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๑๔๓ / ๓๐๔ หัวข้อที่ ๑๒๗

เบญจกัลยาณี

เบญจกัลยาณี 

เบญจกัลยาณี (แปลว่า ผู้มีความงาม 5 ประการ) หมายถึงสตรีผู้มีศุภลักษณ์หรือลักษณะที่งาม 5 ประการ คือ

ลักษณะของเบญจกัลยาณีอธิบายตามความคิดเห็นของท่านผู้รู้แต่โบราณว่า


ลักษณะเบญจกัลยาณี ๕ อย่าง


ผมงาม หมายถึง ผมซึ่งยาวสลวยลงมาแล้วมีปลายช้อนขึ้นเองโดยธรรมชาติ ลักษณะผมของหญิงผู้มีบุญมาก เป็นเช่นกับกำหางนกยูง เวลาปล่อยระชายผ้านุ่งแล้ว ก็กลับมีปลายงอนขึ้นตั้งอยู่

ฟันงาม หมายถึง ฟันขาวสะอาดเป็นระเบียบเรียงรายประดุจไข่มุกที่นายช่างจัดเข้าระเบียบแล้ว ฟันขาวเรียบไม่ห่างกัน งดงามดุจระเบียบแห่งเพชรที่เขายกขึ้นตั้งไว้ และดุจระเบียบแห่งสังข์ที่เขาขัดสีดีแล้ว

ริมฝีปากงาม หมายถึง ริมฝีปากบางโค้งเป็นรูปกระจับสีชมพูเรื่อคล้ายผลตำลึงสุก ถึงพร้อมด้วยสีเรียบชิดสนิทดี เป็นเองโดยธรรมชาติ มิใช่เพราะตกแต่งแต้มทา

ผิวงาม ลักษณะนี้มี ๒ อย่าง คือ ถ้าผิวขาวก็ขาวละเอียดอ่อนเหมือนสีดอกกรรณิการ์ ถ้าผิวดำก็ดำอย่างดอกอุบลเขียว อมเลือดอมฝาด เปล่งปลั่งคล้ายสีน้ำผึ้งซึ่งนำมาจากรังผึ้งใหม่ๆ

วัยงาม หมายถึง เป็นคนงามตามวัย งามทุกวัย เมื่ออยู่ในวัยเด็กก็งามอย่างเด็ก เมื่ออยู่ในวัยสาวก็งามอย่างหญิงสาว เมื่ออยู่ในวัยชราก็งามอย่างคนชรา และหญิงแม้คลอดแล้วตั้ง ๑๐ ครั้ง ก็เหมือนคลอดครั้งเดียว ยังสาวพริ้งอยู่ทีเดียว (พระอานนท์พุทธอนุชา วศิน อินทสระ

ลักษณะเบญจกัลยาณีนี้ ในธรรมบทมีปรากฏชัดครบทั้ง ๕ ประการในนางวิสาขา ผู้ได้นามว่ามหาอุบาสิกา เรื่องราวของนางวิสาขานี้ควรแก่การศึกษาเป็นอย่างมาก เป็นต้นแบบของกุลสตรีทั้งหลาย

ตำนานว่า นางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นเบญจกัลยาณีคนหนึ่งในสมัยพุทธกาล

ตำนานเรื่องนางวิสาขา ผู้สร้างปุพพรามปราสาทถวายเป็นวัดครั้งพุทธกาลชมนางวิสาขาว่าวัยงามนักหนา นางมีบุตรชาย 10 บุตรหญิง 10 บุตรชายหญิงมีบุตรชายหญิงอีกคนละ 10 ตลอดชีวิตของนางมีบุตรหลายถึง 8,420 คน นางวิสาขาไปที่ใด บุตรหลานห้อมล้อมไปเป็นหมู่ ผู้คนดูไม่ออกว่าคนไหนคือนางวิสาขา เพราะเห็นเป็นหนุ่มเป็นสาวเสมอเหมือนกันหมด นางวิสาขามีอายุยืนถึง 120 ปี และเป็นลูกสาวเศรษฐี ได้กินอิ่ม นอนหลับเต็มที่ ประกอบกับใจบุญด้วย จึงงามทั้งกายใจ


เป็นผู้หญิงตำราที่ว่าสวย
ต้องกอปรด้วยเบญจลักษณ์เป็นศักดิ์ศรี
ถึงไม่ครบทั้งห้าตามมาลี
สมัยนี้สำคัญด้วยจรรยา

อันงามรูปงามทรัพย์บังคับยาก
มีน้อยมากก็ตามชาติวาสนา
ถึงร่างกายบุญกรรมก็ทำมา
มิใช่ว่าสรรสร้างได้ดังใจ

คงแต่เพียงที่สามให้งามจิต
งามจริตกิริยาอัชฌาสัย
งามวาจาไพเราะเสนาะใน
ดำรงค์ไว้ให้งามสามประการ

แม้สตรีมีงามเพียงสามสิ่ง
นับว่าหญิงน่ารักสมัครสมาน
ถึงรูปทรัพย์คับแค้นแสนกันดาร
ต้องประมาณว่างามตามตำรา

อีกนัยหนึ่งเครื่องประดับสำหรับนาฎ
ศิลปศาสตร์เป็นของจะต้องหา
งามอะไรก็ไม่เยี่ยมเทียมวิชา
อาจจะพาให้กายสบายเบา

อันสตรีที่งามด้วยความรู้
เป็นที่ชูโฉมเชิดเลิศเฉลา
แต่อย่าเพียรเรียนเล่นพอเป็นเรา
ต้องเรียนเอารู้ดีจึงมีคุณ . . . . . . . . . อัญชัญ


นางวิสาขา ยอดเบญจกัลยาณี


นางวิสาขา เป็นธิดาเศรษฐีธนญชัย นางได้ฟังพระธรรมของศาสดา และได้บรรลุโสดาปัตติผลตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ

นางวิสาขาเจริญวัยขึ้น เป็นหญิงสาวที่สวยที่สุดในชมพูทวีป เป็นหญิงเบญจกัลยาณี คือลักษณะความงาม ๕ ประการ ตามตำราในชมพูทวีป คือ...

ผมงาม ผมของหญิงผู้มีบุญมาก เป็นเช่นกับหางนกยูง แก้ปล่อยระชายผ้านุ่งแล้ว ก็กลับมีปลายงอนขึ้น ชื่อว่า "ผมงาม"

เนื้องาม ริมฝีปากเช่นกับผลตำลึงสุก ถึงพร้อมด้วยสีเรียบชิดสนิทดี ชื่อว่า"เนื้องาม"

ฟันงาม ฟันขาวเรียบไม่ห่างกัน งดงามดุจระเบียบแห่งเพชร ขื่อว่า"ฟันงาม"

ผิวงาม ผิวพรรณของหญิงที่ไม่ลูบไล้ด้วยเครื่องประทินผิว ก็งามประหนึ่งพวงดอกกรรณิการ์ ชื่อว่า"ผิวงาม"

วัยงาม ก็หญิงแม้คลอดลูกแล้ว ๑๐ ครั้ง ก็เหมือนคลอดครั้งเดียว ยังสาวพริ้งอยู่เทียว ชื่อว่า"วัยงาม"

วันหนึ่ง นางวิสาขาได้ออกจากบ้านไปกับหญิงบริวาร ๕๐๐ พอดีฝนตกใหญ่ หญิงบริวาร ๕๐๐ ได้วิ่งหลบฝนเข้าไปในศาลา แต่นางวิสาขาไม่ยอมวิ่งตามหญิงเหล่านั้น ด้วยเกรงว่าจะเสียจรรยากุลสตรี จึงค่อยๆเดินไปจนถึงศาลา จนเนื้อตัวเปียกไปด้วยน้ำฝน

ขณะนั้น มีพราหมณ์ท่านหนึ่ง ได้ถามนางวิสาขาว่า ฝนตก คนอื่นเขาพากันวิ่งหลบฝน แต่ตัวนางมัวเดินทอดน่องอยู่ ไม่ยอมวิ่ง เหมือนคนเกียจคร้าน

นางวิสาขาไม่ได้ถือโกรธ ได้แสดงกิริยานอบน้อม และตอบว่า พ่อพราหมณ์เข้าใจผิดแล้ว ฉันไม่ใช่คนเกียจคร้าน แต่ฉันเป็นคนขยันขันแข็งกว่าหญิงเหล่านั้น ถ้าฉันจะวิ่ง ก็จะวิ่งถึงศาลานั้นก่อนใคร

แล้วเหตุใด นางจึงเดินทอดน่อง ปล่อยให้เปียกฝน พราหมณ์ถามขึ้น
พ่อพราหมณ์ คงไม่เคยได้ยินได้ฟัง ฉันมีเหตุผลของฉันถึงเรื่องบุคคล ๔ จำพวก ถ้าลืมตัววิ่งขณะใด จะหาความงามไม่ได้ และไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง คือ..

๑. พระราชาทรงรับราชาภิเษก มีเครื่องอาภรณ์ประดับ ถ้าวิ่งในเวลาใด ก็จะถูกติเตียนว่า ทำตัวเยี่ยงสามัญชน

๒. ช้างทรงของพระราชา ที่ควาญประดับเครื่องคชาภรณ์ พร้อมให้สมกับตำแหน่ง ถ้าวิ่งเหมือนสัตว์อื่น ก็เป็นสิ่งที่ไมงาม ไม่สมควรแก่ช้างพระราชา

๓. นักบวชบรรพชิต ผู้ประพฤติอยู่แต่ความสงบ มีจริยวัตรสงบเสงี่ยม ถ้าเผลอสติไปวิ่งเข้า ก็จะถูกติเตียนได้ หามีความงามตามสมณวิสัยไม่

๔. สตรี ควรรักษามารยาทให้สมเป็นหญิง ความมีมารยาทเป็นดุจอาภรณ์ประการหนึ่ง ผู้หญิงได้รับการประคับประคองจากบิดา มารดา มีความห่วงใย เปรียบเหมือนสิ่งของมีค่า ควรแก่การส่งไปสู่สามีตระกูลในภายหน้า ถ้าวิ่งเกิดพลาดพลั้งล้มลง ร่างกายบาดเจ็บ บิดา มารดาย่อมเสียใจ ต้องรับภาระในตัวฉัน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ฉันจึงไม่ยอมวิ่ง...พ่อพราหมณ์.

(ที่มา - อรรถกถา ขทฺทกนิกาย คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔)

วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561

80 เรื่องของในหลวงที่เราอาจไม่เคยรู้

80 เรื่องของในหลวงที่เราอาจไม่เคยรู้ 

ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45 น.
นายแพทย์ผู้ทำคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ ทรงมีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์
พระนาม ‘ภูมิพล‘ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช
ทรงมีชื่อเล่น ว่า เล็ก หรือ พระองค์เล็ก
ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษาทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า ‘H.H Bhummibol Mahidol’หมายเลขประจำตัว 449
ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างธรรมดาว่า ‘แม่‘
สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง
แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต
สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยทรงพระเยาว์เป็นสุนัขไทยทรงตั้งชื่อให้ว่า “บ๊อบบี้”
ทรงฉลองพระเนตร(แว่นสายตา)ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำพระองค์ต้องลุกขึ้นบ่อยๆ
สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรองว่า 3 ทีมากเกินไป 2 ทีพอแล้ว
ระหว่างประทับอยู่ สวิตเซอร์แลนด์นั้นระหว่างพี่น้องจะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสมอ
ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก ‘การให้ ‘ โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า ‘กระป๋องคนจน ‘ เอาไว้ หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก ‘เก็บภาษี ‘ หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆ เขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าก็ตอบว่า ‘ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อจักรยาน‘
กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา
ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง
พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก ‘การเล่น ‘ สมัยทรงพระเยาว์ เพราะหากอยากได้ของเล่นอะไรต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือ ประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับพระเชษฐา ซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วเอามาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง
สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และภูมิประเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทยเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆเพื่อให้ทรงเล่นเป็นจิ๊กซอว์
ในหลวงทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น เปียโน กีตาร์ แซกโซโฟน แต่รู้หรือไม่ว่าเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ หีบเพลง (แอกคอร์เดียน)
ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให้
ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส
ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ ‘แสงเทียน ‘ จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง
ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง ‘เราสู้‘
รู้ไหม…? ทรงมีพระอุปนิสัยสนใจการถ่ายภาพเหมือนใคร : เหมือนสมเด็จย่า และ รัชกาลที่5
นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯรพ.ภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย
ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง ‘นายอินทร์ ‘ และ ‘ติโต ‘ ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่ ‘พระมหาชนก‘ ทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และ เรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ‘กีฬาซีเกมส์‘) ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2510
ครั้งหนึ่ง ทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่ง และตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯว่า เสด็จฯกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน
ในหลวงของเรา ทรงจักรยาน เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ ‘กังหันชัยพัฒนา ‘ เมื่อปี 2536
ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์,ดีโซฮอลล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ! ปีแล้ว
องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ในหลวงเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง
พระนามเต็มของในหลวง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรา มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
รักแรกพบ ของในหลวงและหม่อมสิริกิติ์เกิดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด์ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯทรงให้สัมภาษณ์ว่า ‘น่าจะเป็น เกลียดแรกพบ มากกว่ารักแรกพบ เนื่องเพราะรับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย 4 โมง แต่จริงๆแล้วเสด็จมาถึงหนึ่งทุ่ม ช้ากว่าเวลานัดหมายตั้งสามชั่วโมง
ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 โดยทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนทั่วไป ข้อความในสมุดทะเบียนก็เหมือนคนทั่วไปทุกอย่าง ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
หลังอภิเษกสมรส ทรง ‘ฮันนีมูน ‘ที่หัวหิน
ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน
ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาย์และพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
ของใช้ส่วนพระองค์นั้นไม่จำเป็นต้องแพงหรือต้องแบรนด์เนม ดังนั้นการถวายของให้ในหลวงจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพง อะไรที่มาจากน้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น
เครื่องประดับ : ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา
พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว : ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ
หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอด ยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีด และ กดเป็นรอยบุ๋ม
วันที่ในหลวงเสียใจที่สุด คือวันที่สมเด็จย่าเสด็จสวรรคต มีหนังสือเล่าไว้ว่า วันนั้นในหลวงไปเฝ้าแม่ถึงตีสี่ตีห้าพอแม่หลับจึงเสด็จฯกลับเมื่อถึงวัง ทางโรงพยาบาลก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์แล้ว ในหลวงรีบกลับไปที่โรงพยาบาล เห็นแม่นอนหลับตาอยุ่บนเตียง ในหลวงคุกเข่าเข้าไปกราบที่อกแม่ ซบหน้านิ่งอยู่นานค่อยๆเงยพระพักตร์ขึ้นมาน้ำพระเนตรไหลนอง
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนถึงปัจจุบนมีจำนวนกว่า 3,000 โครงการ
ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานต่างๆจะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ 3 สิ่ง คือ แผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง(ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ
ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่างแม้กระทั่งการโรเนียวกระดาษที่จะนำมาให้ข้าราชการที่เข้าเฝ้าฯถวายงาน
เก็บร่ม : ครั้งหนึ่งเมื่อในหลวงเสด็จฯเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังนั้น จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน
ทรงศึกษาลักษณะอากาศทุกวัน โดยใช้ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยานำขึ้นทูลเกล้าฯ ร่วมกับข้อมูลจากต่างประเทศที่หามาเอง เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจก่อความเสียหายแก่ประชาชน
โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์จำนวน 32,866.73บาท ซึ่งได้จากการขายหนังสือดนตรีที่พระเจนดุริยางค์ จากการขายนมวัว ก็ค่อยๆเติบโตเป็นโครงการพัฒนามาจนเป็นอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้
เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯสวนจิตรลดา ในหลวงจะเสด็จฯลงมาอธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอียด
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ในหลวงตอบว่า ‘ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก! บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ’
ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังในอีก 5 ชั่วโมง (20 กรกฎาคม 2549) ยังทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์จะได้มอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน
อาหารทรงโปรด : โปรดผัดผักทุกชนิด เช่น ผัดคะน้า ผัดถั่วงอก ผัดถั่วลันเตา
ผักที่ไม่โปรด : ผักชี ต้นหอม และตังฉ่าย
ทรงเสวย ข้าวกล้อง เป็นพระกระยาหารหลัก
ไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง แล้วแจกจ่ายพันธุ์ไปให้กรมประมง
เครื่องดื่มทรงโปรด : โปรดโอวัลตินเป็นพิเศษ เคยเสวยวันหนึ่งหลายครั้ง
ทีวีช่องโปรด ทรงโปรดข่าวช่องฝรั่งเศส ของยูบีซี เพื่อทรงรับฟังข่าวสารจากทั่วโลก
ทรงฟัง จส.100 และเคยโทรศัพท์ไปรายงานสถานการณ์ต่างๆใน กทม.ไปที จส.100ด้วย โดยใช้พระนามแฝง
หนังสือที่ในหลวงอ่าน : ตอนเช้าตื่นบรรทม ในหลวงจะเปิดดูหนังสือพิมพ์รายวันทั้งไทยและเทศ ทุกฉบับ และก่อนเข้านอนจะทรงอ่านนิตยสารไทม์ส นิวสวีก เอเชียวีก ฯลฯ ที่มีข่าวทั่วทุกมุมโลก
ร้านตัดเสื้อของในหลวง คือ ร้านยูดลย เจ้าของชื่อ ยูไลย ลาภประเสริฐ ถวายงานตัดเสื้อในหลวงมาตั้งแต่ปี 2501 เมื่อนายยูไลยเสียชีวิต ก็มี ลูกชาย นายสมภพ ลาภประเสริฐ มาถวายงานต่อจนถึงตอนนี้ก็เกือบ 50 ปีแล้ว
ห้องทรงงานของในหลวง อยู่ใกล้ห้องบรรทม บนชั้น 8 ของตำหนักจิตรลดาฯเป็นห้องเล็กๆ ขนาด 3?4 เมตร ภายในห้องมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์ แผนที่ ฯลฯ
สุนัขทรงเลี้ยง นอกจากคุณทองแดง สุวรรณชาด สุนัขประจำรัชกาล ที่ปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล แล้ว ยังมีสุนัขทรงเลี้ยงอีก 33 ตัว
ในหลวง เกิดจากคำที่ชาวเหนือใช้เรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า “นายหลวง” ภายหลัง
จึงเปลี่ยนเป็น ในหลวง
ทรงเชี่ยวชาญถึง 6 ภาษา คือ ไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และ สเปน
อาชีพของในหลวง เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อเอกสารสำคัญใดๆ ทรงโปรดให้กรอกในช่อง อาชีพ ของพระองค์ว่า “ทำราชการ”
ในหลวงทรงพระเนตรเทียมข้างขวา เป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เมืองโลซานน์ สวิสเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวา ตอนนั้นมี อายุเพียง 20 พรรษา และทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียว ในการทำงานบำบัดทุกข์บำรุงสุข ประชาชนชาวไทยมาตลอดกว่า 60 ปี
ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันลงข่าวลือเกี่ยวกับใน หลวงว่า แซกโซโฟนที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นเป็นแซกโซโฟนที่ทำด้วยทองคำเนื้อแท้ บริสุทธิ์ ซึ่งได้มีพระราชดำรัสว่า”อันนี้ไม่จริงเลย สมมติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก”
ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่ง จนกระทั่งกุด
หัวใจทรงเต้นไม่ปกติ ในหลวงเคยประชวรหนักจนหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากติดเชื้อ ไมโครพลาสม่า ขณะขึ้นเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสะเมิงติดต่อกันหลายปี
รู้หรือไม่ว่า ในหลวงเป็นคนประดิษฐ์รูปแบบฟอนต์ภาษาในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่าง ฟอนต์ จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์
ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดขึ้นที่อิมแพ็ค มีประชาชนเข้าชมรวม 6ล้านคน
ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493 จน 29 ปีต่อมาจึงมีผู้คำนวณว่า เสด็จพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละ 3 ชม. ทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน
ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง
สีประจำพระองค์คือ สีเหลือง
นั่งรถหารสอง : ทรงรับสั่งกับข้าราชบริพารเสมอว่า การนั่งรถคนละคันเป็นการสิ้นเปลือง ให้นั่ง รวมกัน ไม่โปรดให้มีขบวนรถยาวเหยียด
เคยได้ยินหรือไม่ว่า ในขณะที่เกิดความทุกข์ยากกับราษฎรนั้น ในหลวงของเราก็ร้อนรุ่มพระราชหฤทัย ไม่หลับไม่นอน ไม่ทรงบรรทม แต่จะทรงคิดหาทางแก้ไขเพื่อขจัดความทุกข์นั้นให้หมดไปโดยเร็ว ในขณะที่ผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะข้าราชการ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความลำบากเดือดร้อนนั้น กำลังนอนหลับสบาย หรือกำลังแสวงหาความสุขโดยไม่ใส่ใจกับหน้าที่ที่ควรจะทำ ทั้งๆ ที่ในฐานะของพระองค์นั้น ไม่จำเป็นต้องมานั่งเหนื่อยกับปัญหาอย่างนี้
เคยได้ยินหรือไม่ว่า เวลาที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงงาน หรือทรงเยี่ยมราษฎรในที่ต่างๆ ไม่มีพระกระยาหาร (อาหาร) อะไรที่เลิศหรู บาง ครั้งบางหนก็เป็นเพียง ‘กะเพราไก่ไข่ดาว’ หรือ ‘ข้าวผัด’ ธรรมดาๆ นี่เอง ทั้งๆ ที่ในฐานะของพระองค์นั้น สามารถเสวยพระกระยาหารได้เลิศหรูที่สุดในแผ่นดิน หรือในโลกด้วยซ้ำ

บทสวด ปฏิจจสมุปบาท

บทสวด ปฏิจจสมุปบาท

(นำ) หันทะ มะยัง ปะฏิจจะสะมุปปาทะธัมมะปาฐัง ภะณามะ เส ฯ

(รับ) อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก
ปะฏิจจะสะมุปปาทัญเญวะ สาธุกัง โยนิโส มะนะสิกะโรติ
- ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมกระทำไว้ในใจ
โดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า

อิมัส๎มิง สะติ อิทัง โหติ
- เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี

อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ
- เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

อิมัส๎มิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ
- เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี

อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ
- เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป

ยะทิทัง

- ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ

อะวิชชาปัจจะยา สังขารา
- เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย

สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง
- เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง
- เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง
- เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส
- เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

ผัสสะปัจจะยา เวทะนา
- เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เวทะนาปัจจะยา ตัณหา
- เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง
- เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

อุปาทานะปัจจะยา ภะโว
- เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

ภะวะปัจจะยา ชาติ
- เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ
- เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน

เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะสะมุทะโย โหติ
- ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

อะวิชชายะเต๎ววะ อะเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ
- เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ
แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร

สังขาระนิโรธา วิญญาณะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ

วิญญาณะนิโรธา นามะรูปะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ

สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ

ผัสสะนิโรธา เวทะนานิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา

เวทะนานิโรธา ตัณหานิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา

ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน

อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ

ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ

ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ

- เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา มรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น

เอวะเม ตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหตีติ
- ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้


นิทาน. สํ. ๑๖/๘๕/๑๕๙.

วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

บทกลอน ความตาย

บทกลอน ความตาย

 บทกลอน ชีวิต ความตาย
สตฺตานํ หิ วีวิตํ กาโล จ เทหนิกฺเขปนํ 
คติสัตว์ทั้งหลายอันเกิดมาในโลกนี้ย่อมมีสภาวะกำหนดมิได้นั้น ๕ ประการ   
ชีวิตํ   คือชีวิตนั้นก็หากำหนดมิได้ประการ ๑   
พยาธิ    คือการป่วยไข้นั้นก็หากำหนดมิได้ประ ๑ 
กาเล    เพลาอันมรณะนั้นก็หากำหนดมิได้ประการ ๑   
เทหนิกฺเขปนํ   ที่อันจะทิ้งไว้ซึ่งกเฬวระนี้ก็หากำหนดมิได้ประการ ๑
คติ ซึ่งจะไปภพเบื้องหน้านั้นก็หากำหนดมิได้ประการ ๑ เป็น ๕ ประการด้วยกัน

 ระลึกถึง ความตาย สบายนัก
มันหักรัก หักหลง ในสงสาร
บรรเทามืด โมหันต์ อันธการ
ทำให้หาญ หายสะดุ้ง ไม่ยุ่งใจ

 อันชีวิต คนเรา ก็เท่านี้
จนหรือมี คนเรา ก็เท่านั้น
วาสนา คนเรา ไม่เท่ากัน
อันความตาย เท่านั้น ที่เท่าเทียม

 อันชีวิต คนเรา ก็เท่านี้
ตายเป็นผี ต้องลงโลง อย่าสงสัย
ถึงใหญ่โต คับฟ้า สักเพียงใด
ก็ไม่ใหญ่ ไปกว่าโลง เมื่อลงนอน

 อันชีวิต..คนเรา..ก็เท่านี้
มีชีวี..แสนสั้นนัก..ยากอยู่ยั้ง
เกิดต้องตาย..สลายไป..ไม่จีรัง
ชีวิตยัง..ควรสร้างเสริม..เติมความดี.

 อันคืนวัน พลันดับ ลงลับล่วง
ท่านทั้งปวง อุตส่าห์สร้าง ทางกุศล
แก่ลงแล้ว รำพึง ถึงตัวตน
อายุคน นั้นไม่ยืน ถึงหมื่นปี
 ลมหายใจ...เข้าออก...บอกให้รู้
มีเกิดดับ.....สลับอยู่....ดูเปิดเผย
เกิดมาเพื่อ...สิ่งใด......ไม่รู้เลย
ล้วนลงเอย...คืนกลับ...ลับชีวิน

 แค่รู้ตัว.........ทั่วพร้อม...ย่อมผ่านพ้น
กฏสากล......คือกรรม....ย้ำถวิล
เก่าต้องใช้...ใหม่อย่าสร้าง...ล้างมลทิน
อนิจจัง........ทั้งสิ้น........ อนัตตา

 หากน้ำตา เป็นน้ำยา ชุบชีวิต
เชิญญาติมิตร ครวญคร่ำ รำพันหา
กี่ศพแล้ว ที่รด หยดน้ำตา
ไม่เห็นฟื้น คืนกายา ดังตั้งใจ

 ธรรมดา ของสังขาร คือการดับ
ไม่มีกลับ คืนเป็น เช่นลมหวน
เป็นของจริง จงจำ อย่าคร่ำครวญ
สิ่งที่ควร เร่งทำ คือกรรมดี

 อยู่ให้ดี     มีธรรม     ประจำจิต
ดีจะติด     ต่อตั้ง     เมื่อยังอยู่
ไปให้ดี     มีธรรม     เข้าค้ำชู
ดีจะอยู่     ยามพราก     เมื่อจากเอย

เมื่อเจ้ามา มีอะไร มาด้วยเจ้า     
เจ้าจะเอา แต่สุข สนุกไฉน 
เจ้ามามือเปล่า แล้วเจ้า จะเอาอะไร ?   
เจ้าก็ไป มือเปล่า เหมือนเจ้ามา 
    ออกจากครรภ์ มารดา แก้ผ้าร้อง-     
อุแว้ก้อง เผชิญทุกข์ และสุขา 
เติบโตขึ้น มุ่งหาเงิน เพลินชีวา     
แท้ก็หา “ ทุกข์สารพัด” มารัดตน

 เมื่อยังไม่ตาย มุ่งหมาย ว่าของข้า
เพราะตัณหา พาจิต คิดหลงไหล
แม้ตัวเรา เขายังเอา ไปเผาไฟ
มีสิ่งใด เป็นของเรา ก็เปล่าเลย
   แรกเกิดมา มีแต่หัว และตัวเปล่า
มิได้เอา เงินทอง คล้องมาด้วย
เมื่อเป็นอยู่ บากบั่น เข้าขั้นรวย
ยามมอดม้วย ก็ทิ้งไว้ ไปแต่มือ.

มีเงินทอง กองล้น พ้นภูผา
จะซื้อเอา ชีวาไว้ ก็ไร้ผล
เมื่อความตาย มีหมายทั่ว ทุกตัวคน
ติดสินบน เท่าไหร่ ชีพไม่คืน

จะหนีอื่น หมื่นแสน ในแดนโลก
พอย้ายโยก หลบลี้ หนีพ้นได้
แต่หนีหนึ่ง ซึ่งมีชื่อ คือหนีตาย
หนีไม่ได้ ใครไม่พ้น สักคนเดียว

 เพราะเจ้ามาจากดิน
แม้ว่าเจ้าจะโบยบินไปไกลแสนไกล
แต่สุดท้าย...เจ้าก็ต้องกลับคืนสู่ดิน...
... ดิน...ที่เจ้าจากมา...

 สิ้นสุดสายสังสาร สุดสิ่งสร้างสานสืบสาย
สุดสิ้นสิ่งแส่ส่าย สิ้นสงสัยสุดสังสาร

 อันอัฐิขาวโพลนที่ได้เห็น
เหมือนดั่งเป็นสิ่งเตือนสติได้
ว่าสรรพสิ่งทุกอย่างต้องจากไป
เหมือนกระดูกขาวไซร้ที่ได้มอง

 มียศศักดิ์สูงส่งเป็นว่าเล่น
มีหน้าตาเป็นดั่งเช่นนิมิตหมาย
มีเงินทองร่ำรวยทาสมากมาย
มีความ" ตาย" รออยู่สุดปลายทาง

 สุขอื่นใดจักยืนยงคงเที่ยงแท้
จะมีแน่นั้นหรือในสิ่งไหน
เมื่อมีสุขมักมีทุกข์ขลุกกันไป
จะไปหวังให้ได้สุขแต่ใด
   ก็ในเมื่อคนเรานี้เขลานัก
ความเหย่อหยิ่งยิ่งหนักเป็นไหนไหน
ชอบถือตัวมัวหลงตามโลกไป
แต่สุดท้ายไม่เหลือสิ่งไรให้ได้ชม
    แม้ความสุขที่ว่าแน่แน่จริงไหม
ต้องเปลี่ยนไปกลับกลายเป็นขื่นขม
มลายหายไปพลันเปรียบสายลม
ไม่เหลือเค้าให้ได้ชมอันใดเลย

 จากเมื่อตายใครเล่าจะเฝ้าเห็น
จากเมื่อเป็นยังมาพบประสบศรี
มาตัวเปล่าทรัพย์สมบัติที่ไหนมี
แม้ร่างกายกายีต้องสิ้นไป
   บุญและบาปที่เราทำนำสนอง
นำเที่ยวท่องหันเหเฉลไหล
บุญให้สุขทุกข์เพราะบาปขนาบไป
กว่าจะได้มรรคผลดลนิพพาน

 นาฬิกาเดินเข็มทีละนิด
บอกชีวิตจะยังอยู่ไม่ถึงไหน
บอกชีวิตว่าจะอยู่อีกไม่ไกล
บอกชีวิตให้จำไว้ให้ทำดี
    นาฬิกาเดินเข็นทีละนิด
บอกชีวิตให้ทำดีให้เป็นศรี
เพื่อสะสมผลบุญบารมี
เพื่อสู่ภพที่ดีเมื่อจากไป

 จิตใจดี คิดดี คงดีนัก
พูดดี มีคนรัก มากมายเหลือ
กระทำดี ได้ดี มีเหลือเฟือ
ไม่ควรเบื่อ ทำดี ทุกที่ทาง

 ไฟในใจรุมเร้าเผาดวงจิต
ไฟชีวิตรุกโชนโดนกระหน่ำ
ไฟทั้งหลายที่โหมลุกเข้าคลุกทำ
ไฟคือกรรมราคะรากจากอารมณ์

 ให้ชีวิตดับลงซึ่งตรงหน้า 
ให้นภาวาดภาพกลางความฝัน
ให้ความรัก กับความสุขเท่า ๆ กัน
ให้คืนวัน ยุดยั้ง มันไม่มี
   จงมั่นทำความดี เพื่อสร้างผล
เกิดเป็นคนทำเถิดประโยชน์แสน
แม้วันหนึ่งสิ้นลม ล้มสิ้นแรง
ยังมีแสงแห่งธรรม นำทางไป
    อย่านึกว่า วันว่าง จะสร้างได้
ตายเมื่อไหร่ ไปมืดมน คงสิ้นหวัง
น้ำบ่อหน้า หายาก ลำบากพลัน
คอยกี่วัน พ้นกี่คืน มนมืดมัว
    ให้ความผิดเป็นครู นำชีวิต
หลงทำผิด พ้นไป ใครว่าชั่ว
คิดทำใหม่ เวลาไม่รอตัว
ปรับความชั่ว เป็นกรรมดี มีคู่ตน
  เวลาไป จะได้ พาหายห่วง
ไม่ล้ำล่วง เกินใคร ใจกุศล
ไปไม่ลับ ยังมีชื่อ กล่าวทั่วคน
ให้ความดี อยู่ล้น ในปฐพี

 อนิจจัง สังขาร มันไม่เที่ยง
เกิดเท่าไร ตายเกลี้ยง ไม่เหลือหลอ
ถึงแม้ว่า มีเงิน เพลินพนอ
มิอาจต่อ ติดปีก หลีกความตาย

 อนิจจา สังขาร ไม่เที่ยงหนอ 
มีเกิดก่อ พังยุบ บุบสลาย 
มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ครู่ดับไป 
การสลาย ดับสังขาร นั้นสุขจริง 

 เรามีเกิด มีแก่ แลต้องเจ็บ
อีกหนาวเหน็บ เจ็บตาย กลายเป็นผี
บุญหนุนนำ ถ้าทำ แต่กรรมดี
บุญไม่มี ดีหลง ลงโลกันต์ 

 ชนทั้งหลาย กายอยู่ ดูสักหน่อย
บุญใหญ่น้อย ค่อยทำ นำกรรมเกิด
เป็นเสบียง เรียงบุญ คุณอันเลิศ
สุดประเสริฐ เกิดแสงทอง ส่องเห็นธรรม

 จะร่ำรวย สวยงาม ทรามสวาท 
ฤาฉลาด ปราชญ์เปรื่อง จนเลื่องหล้า
เป็นกษัตริย์ ปกเกล้า เจ้าพารา 
สิ้นชีวา ก็ต้องร้าง ทิ้งร่างไป

 โครงกระดูกร่างนี้.........ของเรา ฤานอ
จุ่งพิจารณาเอา............ถ่องแท้
ม้วยมรณ์มอดไหม้เผา....เถ้าถ่าน บ่ลา
บ่คิดหาทางแก้.............หลุดพ้นบ้างฤา.

 ความเอ๋ย...ความตาย
ธาตุสลาย ภินท์พัง สิ้นสังขาร์
พลัดลูกเมีย เสียของ รักนานา
แม้กายา ที่รักยิ่ง ก็ทิ้งไป...

 ตายเมื่อเป็น เหม็นมาก กว่าซากศพ
เหม็นตลบ ด้วยคำฉิน หมิ่นหยาบหยาม 
เป็นเมื่อตาย วายชีพชื่อ กลับลือนาม 
ทุกเขตคาม กล่าวขวัญ สิ้นวันลืม.

 อะนิจฺจา วะตะ สังขารา
ทุกทิวา ราตรี ไม่มีเที่ยง
เหมือนอายุ พลุตะไล ไฟพะเนียง
เมื่อหมดดิน หมดเสียง ก็หมดดัง

 ค่าของคน มิได้นับ เพราะทรัพย์มาก
หรือนับจาก รูปลักษณ์ สูงศักดิ์ศรี
หากเกิดจาก คุณงาม และความดี
ผลงานที่ จรรโลงให้ โลกไพบูลย์

 เกิด มาเพียรก่อสร้าง ความดี. 
แก่ เฒ่ากุศลมี เสาะบ้าง. 
เจ็บ ป่วยพยาธิ มีทั่ว กันนา. 
ตาย แต่ กายชื่อยัง ชั่วฟ้า ดินสลาย.

 อันสังขาร ผ่านเวลา มาแล้วเสื่อม
ใครอาจเอื้อม ฉุดรั้ง ยั้งให้สาว
ศัลยกรรม ทำไป ได้ชั่วคราว
มิยืนยาว เท่าใด ไม่เที่ยงทน

@ โอ้ว่า อนิจจา สังขารเอ๋ย
มาลงเอย สิ้นสุด หยุดเคลื่อนไหว
เมื่อหมดหวัง ครั้งสุดท้าย ไม่หายใจ
ธาตุลมไฟ น้ำดิน ก็สิ้นตาม
  นอนตัวแข็ง แลสลด เมื่อหมดชีพ
เขาตราสัง ใส่หีบ สี่คนหาม
สู่ป่าช้า สิ้นชื่อ เหลือแต่นาม
ใครจะถาม เรียกเรา ก็เปล่าดาย
  นี่แหละหนอ มนุษย์เรา มีเท่านี้
หมดลมแล้ว ก็ไม่มี ซึ่งความหมาย
วิญญาณปราศ ขาดลม ดับจากกาย
หยุดวุ่ยวาย ทุกทุกสิ่ง นอนนิ่งเลย
 สังขารนั้นไม่เที่ยง

     อนิจจังสังขารนั้นไม่เที่ยง     สุดจะเลี่ยงหลีกหลบไม่พบหา
เกิดมาแล้วก็ต้องตายวายชีวา     ทิ้งกายาฝังไว้ในมูลดิน
ถึงรูปหล่อน่ารักสักเพียงไหน     ที่สุดไซร้ก็เน่าเหม็นเป็นเหยื่อหนอน
ชีวิตนี้ไม่ดำรงคงถาวร     ความม้วยมรณ์เท่านั้นเป็นความจริง
     มัจจุราชนายใหญ่เอาไปแน่     เว้นแต่เร็วช้าอย่าสงสัย
วันและคืนพลันดับล่วงลับไป     เราก็ใกล้ป่าช้ามาทุกที
ถึงคราวตายมิอาจขวางทางยมฑูต     ใครจะพูดห้ามไว้มิได้ผล
ทั่วพื้นหล้าหญิงชายตายทุกคน     อย่าอิงอลมากคำเร่งทำดี
     วันเวลาคล้อยเคลื่อนเลื่อนลอยลับ     ไม่เคยกลับมาอีกเหมือนหลีกหนี
มันกลืนกินสรรพสัตว์ทั่วปฐพี     ทุกชีวีควรเตรียมพร้อมก่อนยอมตาย
โอ้สังขารไม่นานก็ราญแหลก     สลายแตกตายไปเป็นผุยผง
มีเกิดแก่แน่นักจักตายลง     เป็นมั่นคงอนิจจังไม่ยั่งยืน
     แม้จะมีโภคะมหาศาล     บริวารมากล้ำจำนวนหมื่น
อายุหดหมดสั้นทุกวันคืน     มิยั่งยืนหญิงชายทุกรายไป
แม้จะเที่ยวท่องไปในโลกหล้า     แอบเมฆฟ้าเขาเขินเนินไสล
มัจจุราชติดตามทุกยามไป     อยู่ที่ใดไม่พ้นตายอย่าหมายปอง
     เป็นเช่นนี้แต่ปฐมบรมกัปล์     เกิดแล้วดับถ้วนหน้าประชาผอง
อนิจจังสังขารวิญญาณครอง     จงเพ่งมองสัจจธรรมสำนึกตน
ได้สติครองใจไว้ฉะนี้     จะไม่มีความประมาทอาจให้ผล
อำนวยสุขแก่ประชาในสากล     ทุกทุกคนจำไว้ใส่ใจเอย.

( บทนำพิกรงานฌาปนกิจศพของคุณน้ำชา)

ทุกชีวิต มีเกิด ในเบื้องต้น
แล้วก็วน เจ็บแก่ ให้แลเห็น
ในตอนกลาง ทุกอย่าง ต่างๆ เป็น
ไม่ยกเว้น ตอนท้าย ตายทุกคน

( ความดี)

ดินจะกลบ ลบกาย วายสังขาร
ไฟจะผลาญ ชีพให้ มลายสูญ
แต่ความดี ที่ทำ ได้ค้ำคูณ
ย่อมเทิดทูน แทนซาก เมื่อจากไป

( มาเปล่าไปเปล่า)

เมื่อเจ้ามา มีอะไร มาด้วยเจ้า
จะโลภมาก มัวเมา ไปถึงไหน
เมื่อเจ้าตาย ก็มิได้ อะไรไป
เจ้าก็ไป มือเปล่า เหมือนเจ้ามา

( ทรัพย์สมบัติ)

    อันทรัพย์สิน ถิ่นฐาน ทั้งบ้านช่อง
อีกเงินทอง ไร่นา มหาศาล
เป็นสมบัติ ของตัว ได้ชั่วกาล
จะต้องผ่าน จากกัน เมื่อวันตาย
   ส่วนความดี มีความสัตย์ สมบัติแท้
ถึงตัวแก่ กายดับ ไม่ลับหาย
จะสถิต ติดแน่น แทนร่างกาย
ชนทั้งหลาย สรรเสริญ เจริญพร

( ยศลาภ)

ยศและลาภ หาบไป ไม่ได้แน่
เว้นก็แต่ ต้นทุน บุญกุศล
ทิ้งสมบัติ ทั้งหลาย ให้ปวงชน
ร่างของตน เขายังเอา ไปเผาไฟ

( ความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร) 

อนิจจัง สังขารา ว่าไม่เที่ยง
เกิดเท่าไร ตายเกลี้ยง ไม่เหลือหลอ
ทั้งผู้ดี เข็ญใจ ตายเตียนยอ
แม้นตัวหมอ ยังต้องตาย วายชีวาต์

( หนีไม่พ้นความตาย)

อันความตาย ชายนารี หนีไม่พ้น
ถึงมีจน ก็ต้องตาย กลายเป็นผี
ถึงแสนรัก ก็ต้องร้าง ห่างทันที
ไม่วันนี้ ก็วันหน้า ช้าหรือเร็ว

( ไม่แน่นอน)

หากคนเรา ได้ทุกอย่าง ดั่งที่คิด
สิ้นชีวิต จะเอาของ กองไว้ไหน
มีได้บ้าง เสียงบ้าง ช่างปะไร
เราตั้งใจ ทำดี เท่านี้พอ

( เปรียบเทียบสัตว์กับคน)

พฤษภกาสร อีกกุญชร อันปลดปลง
โททนต์เสน่งคง สำคัญหมาย ในกายมี
นรชาติวางวาย มลายสิ้น ทั้งอินทรีย์
สถิตทั่ว แต่ชั่วดี ประดับไว้ ในโลกา

( สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส : กฤษณาสอนน้องคำฉันท์)

( เปรียบเทียบสัตว์กับคน)

อันวัวควาย ตายเล่า เหลือเขาหนัง
ช้างตายยัง เหลืองา สง่าศรี
คนเราตาย เหลือไว้ แต่ชั่วดี
บรรดามี ประดับไว้ ในโลกา

* รูปัง ชีรติ มจฺจานํ นาม โคตฺตํ น ชีรติ*   ( ไทยกลาง)

อันร่างกาย ตายแล้ว ก็สูญสิ้น
ถมแผ่นดิน หมดไป ไร้ความหมาย
ส่วนชื่อเสียง ชั่วดี ไม่มีวาย
เป็นที่หมาย กล่าวขาน นิรันดร

( ความตาย   ;   หลวงตาแพรเยื่อไม้)

เมื่อตอนเช้า เคล้าชื่น ระรื่นรส
พอสายหมด ลมลับ ลงดับขันธ์
เมื่อตอนสาย ได้สนุก สุดสุขครัน
พอบ่ายพลัน ชีวาตม์ ลงขาดรอน
เมื่อตอนบ่าย รายล้อม พร้อมหน้าญาติ
พอเย็นขาด ชีวา ลงคาหมอน
เมื่อตอนเย็น เล่นสนุก ไม่ทุกข์ร้อน
พอค่ำมรณ์ ม้วยมิด อนิจจัง

** ความไม่แน่นอนของชีวิต ** โคลงโลกนิติ(ไทยกลาง)

เช้ายังแล เห็นหน้า สายตาย
สายยังอยู่ สุขสบาย บ่ายม้วย
บ่ายยัง รื่นเริงกาย เย็นดับชีพนา
เย็นยัง หยอกลูกด้วย ค่ำม้วยอาสัญ

( อะไร ที่ไหน   ;   ท่านพุทธทาส)

อันความงาม   มีอยู่ตาม   หมู่ซากผี
อันความดี   อยู่ที่ละ   สละยิ่ง
ความเป็นพระ   อยู่ที่เพียร     บวชเรียนจริง
นิพพาน   ดิ่ง     อยู่ที่ตาย   ก่อนตาย   เอยฯ

( ความตาย ; ninjahatori   ภูเก็ต)

ความตาย....ไม่.....มีแบ่ง...........แยกเรื่องเพศ
ความตาย....ไม่.....มีขอบเขต.....เรื่องศาสนา
ความตาย....ไม่.....จำกัด...........วันเวลา
ความตาย....ไม่.....นำพา...........เรื่องของวัย
ความตาย....ไม่.....กำหนด.........เรื่องชนชั้น
ความตาย....ไม่.....สำคัญ...........ตายที่ไหน
ความตาย....ไม่.....มีแบบอย่าง....ตายอย่างไร
ความตาย....ไซร้...เท่านั้น..........นิรันดร

จำต้องพราก

เมื่อถึงคราวม้วยใครก็ช่วยไม่ได้                  ต่อให้เหาะขึ้นไปอยู่บนสวรรค์
ก็จำต้องพรากจากวิมาน                            เพราะยมบาลท่านไม่รับสินบน
ถึงคราวตายแน่ยาแก้ไม่มี                          ตายแน่เราหนีมันไปไม่พ้น
จะเป็นราชาหรือมหาโจร                            ต้องทิ้งกายสกนธ์อยู่บนเชิงตะกอน

ไปมือเปล่า

ยามเจ้าเกิด     มีสิ่งใด     ติดกายบ้าง
เห็นแต่ร่าง     เปลือยเปล่า   ไม่เอาไหน
สร้างสมบัติ   พัสถาน     บานตะไท
ถึงคราวไป   ก็ไปเปล่า   เหมือนเจ้ามา

มีสิ่งใด     ไปกับเจ้า     ก็เปล่าสิ้น
ผ้าสักชิ้น     เงินสักเก๊     หรือเคหา
สามีบุตร     สุดที่รัก     ภรรยา
ไม่เห็นว่า     จะตามไป     หรือใครมี

เห็นแต่ธรรม   คำสอน     ขององค์พระ
ที่พอจะ     ตามไป     ในเมืองผี
เพราะฉะนั้น   พึงหมั่นทำ     แต่ความดี
เพื่อเป็นที่     พึ่งเจ้า     เมื่อคราวตาย

เปลวเทียน ละลายแท่ง เพื่อเปล่งแสง อันอำไพ     
ชีวิตมลายไป เหลือสิ่งใด ทิ้งไว้แทน 

ชีวิต ไร้สาระ ขณะนี้ ยังไม่สาย เกินที่ จะแก้ไข     
แม้ชีวิต เหลือน้อยลง เพียงใด ควรภูมิใจ ที่ได้ ทำความดีทัน 

มีคนเห็นหรือไม่ เป็นไรเล่า ควรเลือกเอา ความดี ที่สร้างสรรค์     
ใครจะเห็น หรือไม่..ไม่สำคัญ ตัวเรานั้น รู้ว่าดี เท่านี้พอ.. 

ความเป็นมาของภาษาบาลี



พิธีมอบทุนการศึกษาภาษาบาลี
ความเป็นมาของภาษาบาลี
ผู้ที่เข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมนี้ ส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุสามเณรผู้มีศรัทธาที่ได้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา บุคคลที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาแล้วมีภารกิจที่ต้องทำสองประการ คือ
ประการแรก ได้แก่ 
คันถธุระ การศึกษาพระธรรมวินัยซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้ การศึกษาชนิดนี้เน้นภาคทฤษฎี และ
ประการที่สอง คือ วิปัสสนาธุระ การเรียนพระกรรมฐานโดยเน้นลงไปที่การปฏิบัติทางกายวาจาและใจ
การศึกษาที่เรียกว่า “คันถธุระ” นั้น ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนสาวกเป็นประจำทุกวันด้วยการแสดงพระธรรมเทศนา คำสั่งสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงนั้น ทรงแสดงด้วยพระโอฐตามที่พระองค์จะทรงโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนาแก่พุทธบริษัทซึ่งมีเป็นประจำทุกวัน ผู้ที่ฟังก็มีทั้งพระภิกษุสงฆ์และคฤหัสถ์ สำหรับพระภิกษุสงฆ์นั้น เมื่อได้ฟังพระสัทธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วก็นำมาถ่ายทอดแก่สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกต่อกันไป การศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่า คันถธุระ หรือการศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งมี 9 ประการ เรียกว่า “นวังคสัตถุศาสน์” แปลว่า คำสอนของพระศาสดามีองค์เก้า ซึ่งได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และเวทัลละ
พระปริยัติธรรม หรือ นวังคสัตถุศาสน์นี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยภาษาบาลี เพราะในสมัยนั้น ประเทศอินเดียมีภาษาหลักอยู่ 2 ตระกูล คือ ภาษาปรากฤต และ ภาษาสันสกฤต
ภาษาปรากฤตแบ่งย่อยออกเป็น 6 ภาษา คือ
1. ภาษามาคธี ภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ในแคว้นมคธ
2. ภาษามหาราษฎร์ ภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ในแคว้นมหาราษฎร์
3. ภาษาอรรถมาคธี ภาษากึ่งมาคธี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาอารษปรากฤต
4. ภาษาเศารนี ภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ในแคว้นศูรเสน
5. ภาษาไปศาจี ภาษีปีศาจ หรือภาษาชั้นต่ำ และ
6. ภาษาอปภรังศ ภาษาปรากฤตรุ่นหลังที่ไวยากรณ์ได้เปลี่ยนไปเกือบหมดแล้ว
ภาษามาคธี หรือ ภาษามคธ เป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สั่งสอนประชาชน ครั้นต่อมาพระพุทธศาสนาได้มาเจริญแพร่หลายที่ประเทศศรีลังกา ภาษามาคธีได้ถูกนักปราชญ์แก้ไขดัดแปลงรูปแบบไวยากรณ์ให้กระทัดรัดยิ่งขึ้นจึงมีชื่อใหม่ว่า “ปาลี” หรือ ภาษาบาลี เป็นภาษาจารึกพระไตรปิฏกดังที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน
คำว่า บาลี มาจากคำว่า ปาลีซึ่งวิเคราะห์มาจาก ปาล ธาตุ ในความรักษา ลง ณี ปัจจัย ๆ ที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ ทิ้งเสีย มีรูปวิเคราะห์ว่า พุทธวจนํ ปาเลตีติ ปาลี แปลโดยพยัญชนะว่า ภาษาใดย่อมรักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ เพราะเหตุนั้น ภาษานั้นชื่อว่า ปาลี แปลโดยอรรถว่า ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าท่านจารึกไว้ในคัมภีร์ต่างๆ ด้วยภาษาบาลีซึ่งสามารถแบ่งลำดับชั้นของคัมภีร์ต่างๆ ได้ดังนี้
1. พระไตรปิฏก เป็นหลักฐานชั้นหนึ่ง เรียกว่า บาลี
2. คำอธิบายพระไตรปิฏกเป็นหลักฐานชั้นสอง เรียกว่า อรรถกถา หรือ วัณณนา
3. คำอธิบายอรรถกถา เป็นหลักฐานชั้นสาม เรียกว่า ฎีกา
4. คำอธิบายฏีกา เป็นหลักฐานชั้นสี่ เรียกว่า อนุฏีกา
5. นอกจากนี้ ยังมีหนังสือที่แต่งขึ้นภายหลังเป็นทำนองอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ หนังสือประเภทนี้ เรียกว่า “ทีปนี” หรือ “ทีปิกา” หรือ “ปทีปิกา” และหนังสือที่อธิบายเรื่องปลีกย่อยต่างๆ ที่มีในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา หนังสือประเภทนี้ เรียกว่า “โยชนา” หนังสือทั้งสองประเภทนี้จัดเป็นคัมภีร์อรรถกถา
จะเห็นได้ว่า คำสอนที่อยู่ในคัมภีร์เหล่านี้ คำสอนที่อยู่ในพระไตรปิฏกเป็นหลักฐานสำคัญที่สุด เพราะเป็นหลักฐานชั้นแรกสุด คำสอนที่อยู่ในพระไตรปิฏกนั้นมีถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ โดยจัดแบ่งเป็น 3 หมวด คือ
- หมวดที่หนึ่ง พระวินัย ว่าด้วยเรื่อง ระเบียบ กฎ ข้อบังคับควบคุมกิริยา มารยาท ของภิกษุสงฆ์ มีทั้งข้อห้ามและข้ออนุญาต ทั้งนี้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในหมู่สงฆ์ มี 21,000 พระธรรมขันธ์
- หมวดที่สอง พระสูตร ว่าด้วยเรื่องราว นิทาน ประวัติศาสตร์ ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนและทรงสนทนากับบุคคลทั้งหลายอันเกี่ยวกับชาดกต่างๆ ที่ทรงสอนเปรียบเทียบเป็นอุปมาอุปไมย เป็นต้น มี 21,000 พระธรรมขันธ์ และ
- หมวดที่สาม พระอภิธรรมว่าด้วยธรรมขั้นสูง คือ ว่าด้วยเรื่องเฉพาะคำสอนที่เป็นแก่น เป็นปรมัตถ์ ในรูปปรัชญาล้วนๆ มี 42,000 พระธรรมขันธ์
คำสอนทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์นั้น เรียกว่า “ธรรมวินัย” ธรรมวินัยเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดของชาวพุทธ เพราะถือเป็นสิ่งแทนองค์พระศาสดา ดังพุทธพจน์ที่ตรัสกับพระอานนท์ก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า “ดูก่อนอานนท์ ธรรมวินัยอันใดที่เราบัญญัติไว้แล้ว แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมะและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอเมื่อเราล่วงลับไปแล้ว” ดังนั้น กล่าวได้ว่า พระไตรปิฏกเป็นคัมภีร์ที่สำคัญมากที่สุดของชาวพุทธ
พระไตรปิฏกแต่เดิมเป็นภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่มีในมัชฌิมประเทศที่เรียกว่า แคว้นมคธ ในครั้งพุทธกาล ต่อมาพุทธศาสนาแพร่หลายไปในนานาประเทศที่ใช้ภาษาอื่น ประเทศต่างๆ เหล่านั้น มีธิเบตและจีนเป็นต้นได้แปลพระไตรปิฏกจากภาษาบาลีเป็นภาษาของตน เพื่อประสงค์ที่จะให้เรียนรู้ได้ง่าย จะได้มีคนเลื่อมใสศรัทธามาก ครั้นไม่มีใครเล่าเรียนพระไตรปิฏก ต่อมาก็ค่อยๆ สูญสิ้นไป สิ้นหลักฐานที่จะสอบสวนพระธรรมวินัยให้ถ่องแท้ได้ ลัทธิศาสนาในประเทศฝ่ายเหนือเหล่านั้นก็แปรผันวิปลาสไป
แต่ส่วนประเทศฝ่ายใต้มี ลังกา พม่า ไทย ลาว และ เขมร ประเทศเหล่านี้คิดเห็นมาแต่เดิมว่า ถ้าแปลพระไตรปิฏกเป็นภาษาอื่นโดยทิ้งของเดิมเสียแล้ว พระธรรมวินัยก็คงคลาดเคลื่อน จึงรักษาพระไตรปิฏกไว้ในเป็นภาษาบาลี
การเล่าเรียนคันถธุระก็ต้องเรียนภาษาบาลีให้เข้าใจเสียชั้นหนึ่งก่อนแล้วจึงเรียนพระธรรมวินัยในพระไตรปิฏกต่อไป ด้วยเหตุนี้เองประเทศฝ่ายใต้จึงสามารถรักษาลัทธิศาสนาตามหลักธรรมวินัยยั่งยืนมาได้ การศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี นอกจากจะเป็นการศึกษาหลักธรรมคำสั่งสอนแล้วยังได้ชื่อว่า เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาไว้อีกด้วย โดยเฉพาะการศึกษาภาษาบาลี เพราะถ้าไม่รู้ภาษาบาลีแล้ว ก็จะไม่มีผู้ใดสามารถรู้และเข้าใจพระพุทธวจนะในพระไตรปิฏก ถ้าขาดความรู้เรื่องพระไตรปิฏกแล้ว พระพุทธศาสนาก็จะต้องเสื่อมสูญไปด้วย
ด้วยเหตุนี้ พระมหากษัตริย์ผู้เป็นศาสนูปถัมภกตั้งแต่โบราณมาจึงทรงทำนุบำรุง สนับสนุนการเล่าเรียนพระปริยัติธรรม และทรงยกย่องพระภิกษุสามเณรที่เรียนรู้พระพุทธวจนะให้มีฐานันดร พระราชทานราชูปการต่างๆ มีนิตยภัตรเป็นต้น จึงได้ทรงจัดให้มีวิธีการสอบพระปริยัติธรรมเพื่อให้ปรากฏต่อชาวโลกทั่วไปว่า พระภิกษุสามเณรรูปใดมีความรู้มากน้อยแค่ไหน เพียงไร เมื่อปรากฏว่า พระภิกษุสามเณรรูปใดมีความรู้ถึงขั้นที่กำหนดไว้ พระมหากษัตริย์ก็ทรงยกย่องพระภิกษุสามเณรรูปปั้นให้เป็น “มหาบาเรียน” ครั้นอายุพรรษาถึงชั้นเถรภูมิ ก็ทรงตั้งให้มีสมณศักดิ์ในสังฆมณฑลตามควรแก่คุณธรรมและความรู้เป็นครู อาจารย์ สั่งสอนพระปริยัติสืบๆ กันมาจนปัจจุบันนี้
ความเป็นมาของการศึกษาปริยัติธรรมแผนกบาลีศึกษา
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ในสมเด็จพระสังฆราชกิตติโสภณ สถิต ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ได้มีการประชุมระหว่างสงฆ์ไทยทั้ง ๒ นิกาย คือ มหานิกายและธรรมยุต ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยมีสมเด็จพระสังฆนายก คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ( จวน อุฏฐายี ) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นประธานต่อจากสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดประชุมแล้วเสด็จกลับ การประชุมในครั้งนั้นที่ประชุมได้มีมติรับหลักการให้ผู้มิใช่ภิกษุสามเณรสอบบาลีได้
ครั้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ ที่ประชุมกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย ฝ่ายบรรพชิต โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ทรงเป็นนายกกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย และนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยได้อนุมัติให้มีการสอบบาลีศึกษา สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระภิกษุสามเณรโดยใช้หลักสูตรเหมือนการสอบเปรียญธรรมของคณะสงฆ์และให้เรียกว่าบาลีศึกษาชั้นประโยค ๓-๙ สำหรับผู้ที่สอบได้ในชั้นประโยคนั้น ๆ โดยให้เป็นหน่วยงานด้านการศึกษา ของมหามกุฏราชวิทยาลัย เช่นเดียวกับสภาการศึกษา ฯ ดังกล่าวแล้ว
ในเบื้องต้น การสอบบาลีศึกษา ตั้งต้นที่ชั้น ประโยค 3 (คือรวมหลักสูตรประโยค 1-2 และประโยค ป.ธ. 3 ของพระภิกษุมาเป็นการศึกษาชั้นแรกของบาลีศึกษา) จนถึงชั้นประโยค บ.ศ. 9 (แต่ในปัจจุบัน ได้ปรับให้เหมือนการศึกษาของพระภิกษุมากขึ้น คือ มีการสอบชั้นประโยค 1-2 ด้วย) โดยให้เป็นหน่วยงานด้านการศึกษา ของมหามกุฏราชวิทยาลัย เช่นเดียวกับ สภาการศึกษา ฯ ดังกล่าวแล้ว
แต่ทว่าในทางปฏิบัติจะจัดมอบให้เฉพาะผู้ที่เป็นแม่ชี สำหรับหญิงที่ไม่ใช่แม่ชี ไม่มีการมอบพัดเกียรติยศให้ในชั้น บ.ศ. 3 และ บ.ศ. 6 คงมอบให้เพียงในชั้น บ.ศ. 9 เพียงชั้นเดียว
ปัจจุบันมีแม่ชีและอุบาสิกา (หญิงที่มิใช่แม่ชี) จบการศึกษาชั้น บ.ศ. 9 แล้วจำนวน 16 ท่าน เป็นแม่ชี 15 ท่าน และอุบาสิกาที่มิใช่แม่ชี 1 ท่าน
เนื่องจากในแต่ละปีมีผู้สมัครเข้าสอบไม่มากนัก สนามสอบจึงจัดขึ้นเพียงแห่งเดียว ต่างจากการสอบบาลีสนามหลวงของพระภิกษุสามเณรที่มีสนามสอบหลายแห่งทั่วประเทศและทั่วภูมิภาคในชั้นต้น ส่วนชั้นสูงจัดสอบสนามส่วนกลางในกรุงเทพมหานคร
ดังนั้นสภาการศึกษา ฯ (ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐบาลไทยได้ออกกฎหมายรับรองสถานภาพของมหาวิทยาลัย สภาการศึกษา ฯ จึงได้ชื่อใหม่ว่ามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย) จึงต้องรับภาระในเรื่องนี้มาจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นผู้จัดสอบ ออกข้อสอบ ออกประกาศนียบัตร โดยใช้ตราของสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตลอดจนการมอบพัดให้
การศึกษาพระบาลีของผู้ไม่ใช่พระภิกษุเป็นเรื่องที่น่าศึกษา หากพระภิกษุสามเณรไม่ศึกษาภาษาบาลี ต่อไปในอนาคต พระภิกษุอาจจะต้องศึกษาบาลีจากแม่ชีก็ได้
สำหรับผู้ที่สนใจการศึกษาบาลีศึกษา ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่มหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร หรือที่สถาบันแม่ชีไทย ฯ ในวัดบวรนิเวศวิหาร บางลำภู กรุงเทพมหานคร


การศึกษาพระปริยัติธรรมตามหลักสูตรบาลี

ในปัจจุบันมีผู้เรียนอยู่ ๒ กลุ่มหลัก คือ
๑. พระภิกษุสามเณร สำหรับกลุ่มแรกฝ่ายรับผิดชอบในการจัดสอบ ซึ่งเรียกว่า “ สอบบาลีสนามหลวง” คือกองบาลีสังกัดแผนกบาลีในปัจจุบัน สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปญฺโญ ) ดำรงตำแหน่งแม่กองบาลี หลักสูตรการศึกษาแบ่งออกเป็น ๙ ประโยค เรียกว่าเปรียญธรรม เขียนย่อว่า ป.ธ. เช่นพระภิกษุสามเณรที่สอบไล่ได้ ประโยค ๖ ก็เขียนว่า ป.ธ. ๖ ถ้าสอบไล่ได้ ป.ธ. ๙ เป็นต้น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้มีพระราชบัญญัติกำหนดให้ผู้สอบผ่าน ป.ธ. ๙ มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรี
๒. ผู้มิใช่ภิกษุสามเณร สำหรับการศึกษาของกลุ่มที่ ๒ เรียนว่าบาลีศึกษา ใช้ตัวย่อว่า บ.ศ. เช่นบาลีศึกษา ๙ ประโยค เขียนย่อว่า บ.ศ. ๙ ผู้รีบผิดชอบในการจัดสอบบาลีศึกษา ของกลุ่มนี้ คือ สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ยังไม่ปรากฏว่าได้มีพระราชบัญญัติกำหนดให้ผู้สอบ บ.ศ. ๙ มีวิทยฐานะชั้นปริญญาตรี แต่ทั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็รับผู้จบ บ.ศ. ๙ เข้าเรียนต่อในระดับปริญญาโทแล้ว แต่กรมศาสนายังไม่มีการรับรองวิทยฐานบาลีศึกษาของแม่ชีเหมือนกับพระสงฆ์สามเณร
ทั้งสองกลุ่มนี้เรียนตามหลักสูตรเดียวกัน

วัตถุประสงค์ในการจัดสอบบาลีศึกษาให้แก่ผู้ที่มิใช่พระภิกษุสามเณรที่สำคัญ

๑. เพื่อส่งเสริมให้มีการศึกษาบาลีกันอย่างกว้างขวางในหมู่พุทธศาสนิกชนทั่วไป เพื่อให้สามารถแปลคัมภีร์พระพุทธศาสนา เช่น พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา เป็นต้น ได้กว้างขวางกว่าสมัยก่อน
๒. เพื่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา การศึกษาภาษาบาลีย่อมเป็นการศึกษาพระพุทธศาสนาโดยตรงนั่นเอง เมื่อพุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องถ่องแท้ ย่อมสามารถช่วยกันรักษาสืบทอดและพัฒนาพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป
๓. เพื่อทดแทนจำนวนพระภิกษุสามเณรที่ลดลง ตามสถิติปรากฏว่าในปัจจุบันความนิยมในการเรียนการสอบบาลีของพระภิกษุสามเณรลดลง จึงควรส่งเสริมผู้มิใช่พระภิกษุสามเณรเรียนบาลีกัน มิฉะนั้นผู้รู้บาลีจะลดลงเรื่อย ๆ ย่อมเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
มีข้อน่าสังเกตช่วงระยะเวลาอันยาวนานถึง ๔๘ ปี นับตั้งแต่มีการสอบบาลีศึกษาในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นต้นมา มีผู้สอบผ่านประโยคสูงสุด คือ บ.ศ. ๙ ได้เพียง ๒๔ รูปเท่านั้น นับว่ายังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่คณะกรรมการได้ตั้งไว้ ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมการเรียนบาลีศึกษากันให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มแม่ชี เพื่อเป็นการบุคคลากรและวิทยากรทางพระพุทธศาสนาให้มากยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทยเอง
กลับสู่ด้านบน

หลักสูตรการศึกษาบาลีในปัจจุบัน

หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม แบ่งออกเป็น ๙ ระดับ ในปัจจุบันได้กำหนดวิชาและหนังสือเรียนไว้ดังนี้ คือ

ประโยค 1-2 และเปรียญตรีปีที่ 1-2 หมวดบาลีศึกษา

๑. วิชาแปลมคธเป็นไทย โดยพยัญชนะและโดยอรรถ หลักสูตรใช้หนังสือ ธมฺมปทฏฺฐกถา ภาค ๑ ถึงภาค ๔
๒. วิชาบาลีไวยากรณ์ หลักสูตร ใช้หนังสือบาลีไวยากรณ์ ประเภทสอบถามความจำ

ประโยค ป.ธ. ๓

๑. วิชาแปลมคธเป็นไทย โดยพยัญชนะและโดยอรรถ หลักสูตรใช้หนังสือ ธมฺมปทฏฺฐกถา ภาค ๕ ถึง ภาค ๘
๒. วิชาสัมพันธ์ไทย หลักสูตรใช้หนังสือ ธมฺมปทฏฺฐกถา ภาค ๕ ถึง ภาค ๘
๓. วิชาบาลีไวยากรณ์ หลักสูตรใช้หนังสือบาลีไวยากรณ์ ประเภทสอบถามความจำและความเข้าใจประกอบกัน

๔. วิชาบุรพภาค ข้อเขียนภาษาไทย โดยแก้ไขให้ถูกต้องตามระเบียบลักษณะ วรรคตอน ตัวอักษร ตามสมัยนิยม หลักสูตรใช้หนังสือที่ควรรู้ เช่น จดหมายทางราชการ

ประโยค ป.ธ. ๔

๑.วิชาแปลไทยเป็นมคธ หลักสูตรใช้หนังสือธมฺมปทฏฺฐกถา ภาค ๑
๒. วิชาแปลมคธเป็นไทยหลักสูตรใช้หนังสือมงฺคลตฺถทีปนี ภาค ๑

ประโยค ป.ธ. ๕

๑. วิชาแปลไทยเป็นมคธ หลักสูตรใช้หนังสือธมฺมปทฏฺฐกถา ภาค ๒ ถึง ภาค ๔
๒. วิชาแปลมคธเป็นไทย หลักสูตรใช้หนังสือมงฺคลตฺถทีปนี ภาค ๒

ประโยค ป.ธ. ๖

๑. วิชาแปลไทยเป็นมคธ หลักสูตรใช้หนังสือธมฺมปทฏฺฐกถา ภาค ๕ ถึงภาค ๘ แต่ในการสอบ กรรมการจะแปลประโยคที่ออกสอบเป็นความไทยโดยสันทัด หรืออาจดัดแปลงสำนวนและท้องเรื่อง
หรือตัดตอนที่ต่าง ๆ มาเรียงติดต่อกันเป็นประโยคสอบไล่ก็ได้

๒. วิชาแปลมคธเป็นไทย หลักสูตรใช้หนังสือ ตติย-จตุตฺถ-ปญฺจม-สมนฺตปาสาทิกา
หมายเหตุ แต่ในการสอบกรรมการจะแปลประโยคที่ออกสอบเป็นความไทยโดยสันทัด หรืออาจดัดแปลงสำนวน  และท้องเรื่อง หรือตัดตอนที่ต่างๆ มาเรียงติดต่อกันเป็นประโยค สอบไล่ก็ได้

ประโยค ป.ธ. ๗

๑. วิชาแปลไทยเป็นมคธ หลักสูตรใช้หนังสือมงฺคลตฺถทีปนี ภาค ๑
๒. วิชาแปลมคธเป็นไทย หลักสูตรใช้หนังสือปฐม-ทุติย-สมนฺตปาสาทิกา

ประโยค ป.ธ. ๘

๑. วิชาแต่งฉันท์มคธ แต่งฉันท์เป็นภาษามคธ ๓ ฉันท์ในจำนวน ๖ ฉันท์
(1) ปัฐยาวัตร (2) อินทรวิเชียร (3) อุเปนทรวิเชียร (4) อินทรวงศ์ (5) วังสัฏฐะ (6) วสันตดิลก

หมายเหตุ ข้อความแล้วแต่กรรมการจะกำหนดให้
๒. วิชาแปลไทยเป็นมคธ หลักสูตรใช้หนังสือ ปฐมสมนฺตปาสาทิกา
๓. วิชาแปลมคธเป็นไทย หลักสูตรใช้หนังสือวิสุทฺธิมคฺค

ประโยค ป.ธ. ๙

๑. วิชาแต่งไทยเป็นมคธ แต่งมคธจากภาษาไทยล้วน ข้อความแล้วแต่กรรมการจะกำหนดให้
๒. วิชาแปลไทยเป็นมคธ หลักสูตรใช้หนังสือ วิสุทฺธิมคฺค
๓. วิชาแปลมคธเป็นไทย หลักสูตรใช้หนังสืออภิธมฺมตฺถวิภาวินี

วันอังคารที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561

“ การใช้ชีวิตแบบพอเพียง ”

พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
เรื่อง “ การใช้ชีวิตแบบพอเพียง ”


1. พอใจ พอใจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยใจรัก อย่างถูกต้องเหมาะสม

2. พอดี รู้จักประมาณ รู้จักพอดี กระทำการสิ่งใดต้องระลึกรู้ด้วยปัญญา

3. พอมี เลี้ยงชีวิตให้พอมีอยู่เสมอ ไม่ประมาท มีความมั่นคง

4. พออยู่ ตั้งตนให้ถูกวิธี รู้จักดำรงชีวิตให้พออยู่ มีจุดหมายเพื่อประโยชน์ปัจจุบัน

5. พอกิน รู้จักประมาณในการกิน การใช้ ให้พอกิน สมควรแก่กาย และเพื่อจิตใจผ่องใส

6. พอใช้ รู้จักประหยัดอดออม ใช้จ่ายตามความเหมาะสม ไม่หลงในอบายมุข

7. พอเหมาะ รู้จักไตร่ตรอง ตามเหตุผล มีใจเป็นกลาง มีสติ

8. พอควร มีความเข้าใจในการดำเนินชีวิต ตามเหตุปัจจัย การะทำสิ่งใด อย่างพอสมควรยึดมั่นในธรรม

9. พอรู้ มีความเข้าใจและไตร่ตรองให้พอรู้ ถึงอายตนะ 6 มีสติไม่ยึดติด ไม่ให้เกิดกิเลส

10. พอตัว รู้จักก่อร่างสร้างตัว สร้างใจ ให้พอตัว เข้าใจในธรรมชาติ

(ไตรลักษณ์ : ทุกขัง – อนิจจัง – อนัตตา) 

11. พอตน ฉลาดคิด รู้จักพิจารณา รู้จักตัวเอง มั่นคงใน ศีล สมาธิ ปัญญา

12. พอให้ รู้จักเป็นผู้ให้ ส่งผ่านความสุข ในการดำเนินชีวิตให้แก่ผู้อื่น เติบโตต่อไป



ที่มา : 12 ข้อคิดเพื่อชีวิตพอเพียง ของจอดด่าน นายด่วน

สัปปุริสธรรม



สัปปุริสธรรม หมายถึง ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตตบุรุษ,คุณสมบัติของคนดี, ธรรมของผู้ดีมี ๗ ประการ

๑. ธัมมัญญุตา ความรู้จักธรรม รู้หลัก หรือ รู้จัดเหตุ คือ รู้หลักความจริงรู้หลักการ รู้หลักเกณพ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล เช่น ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้น ๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ ๆ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ ๆ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้น ๆ เป็นต้น

๒. อัตถัญญุตา ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือรู้จักผล คือ รู้ความหมายรู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้น ๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้น ๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้างดังนี้เป็นต้น

๓. อัตตัญญุตา ความรู้จักตน คือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป

๔.มัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น การรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่างโภคทรัพย์ พระมหากษัตริย์รู้จักประมาณในการลงทัณฑอาชญาและในการเก็บภาษี เป็นต้น

๕. กาลัญญุตา ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น

๖. ปริสัญญุตา ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้น ๆ ว่า ชนชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น

๗. ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใคร ๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น ๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้จะตำหนิ ยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไรเป็นต้น


ภิกษุผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม ๗ ข้อนี้ชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสังฆคุณ ครบ ๙ แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ทรงประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ จึงทรงยังธรรมจักรและอาณาจักรให้เป็นไปด้วยดี

พระพุทธเจ้าใน ๓ ความหมาย


พระพุทธเจ้าใน ๓ ความหมาย

พระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่ ๑ ในสรณะทั้ง ๓ พุทธศาสนิกชนจะประกอบพิธีกรรมอะไร ต้องตั้งนะโม ๓ จบก่อน เป็นการนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง พระพุทธเจ้าเป็นที่เคารพบูชาอย่างยิ่งในฐานะที่พระองค์เป็นผู้ค้นพบพระธรรม แล้วได้นำมาเผยแผ่แก่มวลมนุษย์จนได้เป็นศาสดาเอกของโลก ในฐานะเป็นชาวพุทธเรารู้จักและเข้าถึงพระพุทธเจ้าได้ใน ๓ ความหมาย
๑.พระพุทธเจ้าในฐานะที่เป็นศาสดาเอกของโลก เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้อุบัติขึ้นมาจริงในโลก พระองค์สั่งสมบารมีบำเพ็ญธรรมอย่างยิ่งยวด จนได้ตรัสรู้ธรรมเป็นพระพุทธเจ้า แล้วได้นำหลักธรรมมาสั่งสอนแก่เวไนยสัตว์ ในฐานะที่เป็นศาสดาเอกของโลก พระองค์มีพระคุณ ๙ ประการ คือ
๑. อรหัง เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา
๒. สัมมาสัมพุทโธ เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง
๓. วิชชาจรณสัมปันโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ
๔.สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่เสด็จไป และแม้ปรินิพพานแล้ว ก็ได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา
๕.โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตวโลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยถ่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้
๖. อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า
๗.สัตถา เทวมนุสสานัง เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
๘.พุทฺโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิด ๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใด ๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์ โดยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่นและย่อมให้เกิดผลคือทำให้ทรงเบิกบานด้วย
๙. ภควา ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการหรือ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม


อนึ่ง พระจิรยาวัตรของพระพุทธเจ้าที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เรียกว่า พุทธจริยามี ๓ ประการ คือ

๑. โลกัตถจริยา พระจริยวัตรที่เป็นประโยชน์แก่สัตว์โลก เช่นการที่พระองค์เสด็จไปโปรดองคุลีมารให้รู้ธรรม โปรดนางปฏาจาราให้คลายจากความเศร้าโศกเสียใจจากการที่สูญเสีย สามี บุตร และบิดา-มารดา จนได้บรรลุธรรม เป็นต้น
๒. ญาตัตถจริยา พระจริยาวัตรที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระญาติเมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วได้เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ตามคำทูลของพระเจ้าสุทโธทนะได้แสดงธรรมโปรดพระประยูรญาติ ให้ได้บรรลุธรรม ออกบวชเป็นภิกษุ ภิกษุณี จำนวนมาก และการที่พระองค์ได้ทรงห้ามพระญาติฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดาไม่ให้ทะเลาะกัน เรื่องแย่งน้ำทำนา จากแม่น้ำโรหิณี จนมีพระพุทธรูป ปางห้ามญาติ ขึ้น เป็นต้น
๓. พุทธัตถจริยา พระจริยวัตรที่ทรงบำเพ็ญประโยชน์ตามหน้าที่ของพระพุทธเจ้า คือ การที่พระองค์ได้แสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ให้รู้ธรรม ยังพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ให้ตั้งมั่นในพระพุทธศาสนา เป็นต้น
พุทธคุณและพุทธจริยาดังที่กล่าวมา เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติแก่โลก ยังมวลมนุษย์ และสรรพสัตว์ ให้รู้ธรรม บรรลุธรรม และพ้นทุกข์ เข้าถึงเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา พบทางอันเกษมแห่งชีวิต พระองค์จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ชี้ทางแก่คนหลงทาง ให้แสงสว่างแก่ผู้ที่อยู่ในที่มืด เปิดเผยสิ่งที่ปกปิดให้ปรากฎ พระองค์เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นศาสดาเอกของโลก นี้เป็นพระพุทธเจ้าในความหมายที่ ๑
๒. พระพุทธเจ้าในความหมายที่เป็นรูปเปรียบหรือพระพุทธรูป หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไป ชาวพุทธได้สร้างพระพุทธขึ้นมาเป็นรูปเปรียบของพระพุทธเจ้า เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาเป็นสื่อในการเข้าถึงธรรมะ ในพระพุทธศาสนา พระพุทธรูปเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยพระเจ้ามิลินท์ หรือ เมนัดเดอร์ กษัตริย์เชื้อสายกรีก หรือโยนก ครองนครสาคละ ในอาณาจักรบากเตรีย แถบแคว้นคันธาระและปัญจาบตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป พระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์ได้โต้ตอบปัญหาธรรมกับพระนาคเสน แล้วทรงเลื่อมในพระพุทธศาสนา ตามเรื่องที่ปรากฏในมิลินทปัญหา สันนิษฐานว่าเป์นยุคแรก ที่มีการสร้างพระพุทธรูป
พระพุทธรูปในยุคสมัยคันธาระ มีลักษณะคล้ายมนุษย์มาก พระพักต์เอิบอิ่ม มวยพระเกศาเหนือพระเศียรดูอ่อนช้อยและงดงามยิ่ง ในสมัยต่อมาพระพุทธรูปหรือรูปเปรียบของพระพุทธเจ้าก็ได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย พระพุทธรูปที่เราบูชากราบไหว้ในประเทศไทยก็มีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละยุค แต่ที่มีลักษณะเหมือนกันไม่เปลี่ยนแปลงนั้น มีอยู่ ๓ ประการคือ พระเศียรแหลม พระกรรณยาน และมีพระเนตรมองต่ำ สามารถตีความเป็นธรรมะได้คือ
พระเศียรแหลม หมายถึงให้ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

พระกรรณยาน หมายถึง มีจิตใจหนักแน่นมั่นคง เชื่อในสิ่งที่ถูกต้องมีเหตุผล ไม่งมงาย เชื่อในกฎแห่งกรรม เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
พระเนตรมองต่ำ หมายถึง ให้มองตนเอง ปรับปรุงตนเอง แก้ไขตนเอง และพัฒนาตนเอง
ชาวพุทธเมื่อกราบไหว้พระพุทธรูปเห็นพระลักษณะดังกล่าวแล้ว เตือนใจตนเอง ให้เข้าถึงธรรมะ นี้เป็นพระพุทธเจ้าในความหมายที่ ๒
๓. พระพุทธเจ้าในความหมาย ตาม “พุทธะ” ศัพท์ ซึ่งแปลว่า รู้ ตื่น เบิกบานด้วยธรรมะ พระพุทธเจ้าในความหมายนี้อยู่ที่ใจของมนุษย์ทุกคน ไม่จำเป็นต้องไปแสวงหาภายนอกให้ยุ่งยากลำบาก เมื่อใดที่มนุษย์ได้ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจนรู้แจ้งในธรรมอย่างถ่องแท้ ไม่ลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจสะอาด สว่าง สงบ พบพระธรรมแล้ว พุทธภาวะ ความรู้ ตื่น เบิกบานด้วยธรรมก็จะเกิดขึ้นที่ใจของผู้นั้นเอง ดังพุทธภาษิตที่ว่า


โย ธมฺมํ ปสฺสติ, โส มํ ปสฺสติ. ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา



พุทธภาวะ ในความหมายนี้ ไม่เหมือนกับพระพุทธรูป เพราะเมื่อเกิดมีแล้วไม่มีใครทำลายได้จะอยู่กับใจตลอดไป

จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าในฐานะเป็นบุคคลทางประวัติศาสตร์ เป็นศาสดาเอกของโลก พระองค์มีพระคุณอันยิ่งใหญ่มีพระจริยาวัตรที่เป็นแบบอย่างแก่ชาวโลก ชาวพุทธได้ศึกษาเรียนรู้พุทธประวัติแล้ว นำมาเป็นทิฏฐานุคติในการดำเนินชีวิตของตนให้ประเสริฐและดีงามได้ดังคำว่า ”ตามรอบบาทพระศาสดา”
พระพุทธเจ้าในฐานะที่เป็นรูปเปรียบหรือพระพุทธรูปเป็นจุดรวมแห่งศรัทธาศิลปะกรรมและปฏิมากรรมที่ทรงคุณค่าแฝงไว้ด้วยปริศนาธรรมเมื่อชาวพุทธกราบไหว้บูชาย่อมมีจิตใจตั้งมั่นเอิบอิ่ม เป็นบุญกุศลในชีวิตชีวิต

พระพุทธเจ้าที่เป็นพุทธภาวะ เป็นพระพุทธเจ้าที่อยู่กับตัวกับใจ มีความสำคัญยิ่ง ทุกคนสามารถเข้าถึงพระพุทธเจ้าในความหมายนี้ได้ ไม่จำกัดกาลเวลา สถานที่ หรือบุคคล
เมื่อพิจารณาเห็นพระพุทธเจ้าในสามความหมายแล้ว ก็ควรที่จะเข้าถึงพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง พระพุทธเจ้าตั้งอยู่ที่ใจ ที่สะอาด สว่าง สงบเย็น ปราศจากกิเลส ไม่ว่าพระพุทธเจ้าในความหมายใด สุดท้ายแล้วผู้ศรัทธาต้องเข้าถึงด้วยสัมมาทิฏฐิและการปฏิบัติธรรม อย่าเพียงไปยึดถือในวัตถุเลย เพราะวัตถุย่อมเป็นไปตามหลักความเป็นจริงของโลก คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขอให้ถือเอาการปฏิบัติที่ถูกต้องตามพระธรรมเถิด แล้วพระพุทธเจ้าก็จะอยู่กับเราตลอดไป.


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หนังสือประกอบในการเรียบเรียง
1. พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬา (แปล) เล่มที่ 12,17,22,30,31 โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
2. พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม,พิมพ์ครั้งที่ 6. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2532.
3. พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต) พระพุทธศาสนาในอาเชีย,พิมพ์ครั้งที่ 2. ธรรมสภา, 2543.

อนันตริยกรรม

อนันตริยกรรม สารานุกรมเสรีอนันตริยกรรม หมายถึง กรรม หนักที่สุด (ครุกรรม) ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี 5 อย่าง คือ มาตุฆาต - ฆ่ามารดา ปิตุ...