วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

หลักปฏิบัติ 15 ข้อ ทึ่ควรรู้ก่อนการปฏิบัติ

การอธิบายวิธีปฏิบัติกรรมฐานของสำนักวิปัสสนาอ้อมน้อย

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ อาจารย์บุญมี เมธางกูรจัดให้มีสัมมนาการปฏิบัติวิปัสสนาขึ้นที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยผู้ร่วมสัมมนาที่สำคัญในครั้งนั้นคือ อาจารย์ แนบ มหานีรานนท์ พระอาจารย์สุนทร ฐิตกาโม พระอาจารย์ประสาท สุขเถื่อน อาจารย์เต็ม สุวิกรม และพระนิติเกษตรสุนทรทั้งนี้เป็นการสนทนาถาม-ตอบเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนาสงเคราะห์เข้ากับวิปัสสนาญาณ๑๖ มีพระอาจารย์สุนทร ฐิตกาโมกับ พระอาจารย์ประสาทสุขเถื่อน เป็นผู้ถาม และอาจารย์แนบมหานีรานนท์ เป็นผู้ตอบ
ผลการสัมมนาถาม-ตอบในครั้งนั้นทางพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยได้รวบรวมเป็นข้อสรุปเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้๑๕ ข้อและถือเป็นการประยุกต์หลักสติปัฏฐานเพื่อการปฏิบัติแนวทางหนึ่งซึ่งสำนักวิปัสสนาอ้อมน้อยได้ใช้หลักปฏิบัติดังกล่าวมาจนทุกวันนี้

           หลักปฏิบัติ ๑๕ ข้อ         

๑.ผู้จะเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต้องศึกษาถึงภูมิของวิปัสสนาก่อน

ภูมิของวิปัสสนา กล่าวโดยย่อได้แก่ นามและรูป ๒ อย่างเพราะนามและรูปนี้จะต้องเป็นวัตถุที่ ถูกพิจารณา คือ ถูกเพ่ง นามและรูปนี้จะเป็นตัวกรรมฐานของวิปัสสนา จึงจำเป็นต้องเข้าใจ ลักษณะที่แตกต่างกัน ของนามและรูปให้ถูกต้อง

๒. กำหนดนาม-รูปในขณะปัจจุบันเสมอ

นาม-รูปที่ยกขึ้นสู่การพิจารณา หรือเป็นตัวกำหนดของวิปัสสนานั้น คือ นาม-รูปที่ปรากฏอยู่ที่ ตัวเราเอง ต้องรู้สภาวะ คือ ความจริงที่ปรากฏอยู่ที่ตัวเอง แล้วกำหนดนาม-รูปในขณะปัจจุบัน ใช้คำว่าดูหรือกำหนดก็ได้

๓.ต้องรู้สึกตัวอยู่ว่าขณะนั้นกำหนดนามอะไร หรือกำหนดรูปอะไร

ผู้ปฏิบัติต้องมีนาม-รูปรองรับ ความรู้สึกอยู่เสมอความรู้สึกที่ปรากฏขณะเจริญกรรมฐานจะต้องมีนามหรือรูปเป็นตัวถูกรู้จะเป็นนามอะไร รูปอะไรก็ได้ถ้าขณะใดมิได้กำหนดนามหรือรูปแม้จะมีสติรู้อยู่ กำหนดอยู่ก็ตามพึงทราบขณะนั้น  ว่าจิตได้ตกออกจากทางวิปัสสนาหรือสติปัฏฐานเสียแล้ว ต้องยกนามหรือรูปกลับขึ้นสู่ความรู้สึกใหม่ต้องระลึกว่า การกำหนดตามหลักสติปัฏฐานแล้ว ต้องมีนาม-รูปเป็นอารมณ์อยู่เสมอ

๔. ห้ามมีความต้องการ

ขณะกำหนดหรือดูนาม-รูปอยู่ ผู้ปฏิบัติต้องระวังมิให้เกิดความรู้สึกต้องการ หรือมิให้เกิดความรู้สึกว่า กำหนดเพื่ออะไร เช่น ต้องการเห็นนาม-รูป หรือต้องการเห็นนาม-รูปเกิดดับ หรือต้องการให้เกิด วิปัสสนาญาณ  เช่นนี้เป็นความรู้สึกที่ไม่ถูกต้อง

๕.ไม่ให้กำหนดรูปและนามไปพร้อมกัน

ขณะใดกำหนดรูปอยู่ ก็ต้องกำหนดเฉพาะรูป ขณะใดกำหนดหรือดูนามอยู่ ก็ต้องกำหนดเฉพาะนาม จะกำหนดนามและรูปพร้อมกัน ในขณะเดียวกันหรือในอารมณ์เดียวกันไม่ได้

๖.ไม่ควรใช้อิริยาบถโดยไม่จำเป็น

ผู้ปฏิบัติไม่ควรใช้อิริยาบถย่อยเช่น เคลื่อนไหว เหยียด คู้ก้ม เงย เหลียวซ้าย-ขวา เป็นต้นหรืออิริยาบถใหญ่เช่น ยืน เดิน นั่ง นอนโดยไม่จำเป็นจะเปลี่ยนอิริยาบถก็ต่อเมื่อเกิดทุกข์เช่น ปวดเมื่อยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น

๗.ถ้ามีความจำเป็นต้องเปลี่ยนหรือต้องใช้อิริยาบถต้องรู้เหตุนั้นก่อนว่าเปลี่ยนเพราะเหตุอะไร

เหตุผลในการเปลี่ยนอิริยาบถนี้มีความสำคัญมาก   ผู้ปฏิบัติที่ต้องใช้หรือต้องเปลี่ยนอิริยาบถย่อยหรือใหญ่ก็ตาม ให้รู้เหตุที่จำเป็นนั้นก่อน จึงค่อยเปลี่ยนหรือใช้อิริยาบถนั้น 

๘. อย่าทำอิริยาบถให้ผิดปกติ

เราเคยนั่งอย่างไร เคยเดินอย่างไร เคยนอนอย่างไร เมื่อเข้ากรรมฐาน ก็นั่งอย่างนั้น ไม่ต้องเดิน ให้ผิดปกติ ไม่ต้องนั่งให้ผิดปกติ ส่วนมากผู้เข้ากรรมฐานมักเข้าใจว่าต้องนั่งขัดสมาธิก่อน แล้วจึงกำหนด สำหรับวิปัสสนาไม่จำเป็น นั่งอย่างไรก็ได้เปลี่ยนอิริยาบถตามสะดวก นั่งอย่างไรทำอย่างไรก็ได้ตามปกติ แต่ขอให้รู้อยู่ในท่านั้น คือในรูปนั้น ๆ เท่านั้นจะเป็นท่านั่ง หรือท่านอนก็ตาม ขณะกำหนดท่านั่งหรือท่านอนจะต้องรู้สึกตัวด้วยสติสัมปชัญญะเสมอว่า กำลังกำหนดหรือดูรูปอะไรอยู่ ถ้ากำหนดท่านั่ง คือ ดูท่าที่นั่งก็ให้รู้สึกว่าขณะนี้กำลังดูรูปนั่ง ถ้ากำหนดท่านอน คือ ดูท่าที่นอนก็ให้รู้สึกว่าขณะนี้กำลังดูรูปนอนอยู่ ทำนองเดียวกัน ในการดูรูปยืนหรือรูปเดินก็ตาม ต้องรู้สึกเสมอว่าขณะนี้กำลังดูรูปอะไร หรือกำลังดูนามอะไรอยู่

๙. ไม่ให้ประคองอิริยาบถมากจนผิดปกติ

ผู้ปฏิบัติบางท่านขณะเดินก็พยายามประคองอิริยาบถมากค่อย ๆ ยกเท้า ก้าวเท้าอย่างช้า ๆ คล้ายหุ่นยนต์ขณะยกมือหรือใช้อิริยาบถอื่นๆ  ก็รู้สึกว่าจะประคองมากจนผิดปกติ     ความระวังอิริยาบถจนผิดปกติเช่นนี้เป็นการทำเพื่อความต้องการ  ความต้องการจะแฝงอยู่ในความรู้สึกนั้นความต้องการเป็นโลภะ เป็นกิเลส จึงสร้างท่าทางและอิริยาบถที่ผิดธรรมชาติขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้แทนที่การปฏิบัตินี้จะเป็นไปเพื่อละกิเลส จะกลายเป็นการพอกพูนกิเลสที่แฝงอยู่ในการใช้ อิริยาบถต่าง ๆ ฉะนั้น ความรู้สึกเช่นนี้จึงไม่ถูกต้อง ผู้ปฏิบัติต้องคอยสังเกตเจตนาแฝงเร้น ของตนเองอยู่เสมอ

๑๐. ขณะเข้ากรรมฐาน ห้ามทำสิ่งที่ไม่จำเป็น

หากไม่จำเป็นแล้ว ไม่ให้ทำการงานใดทั้งสิ้น   การพูดถ้าไม่จำเป็นไม่ให้พูดคุยกันระหว่างผู้ปฏิบัติด้วยกันการนั่ง นอน ยืน เดินอ่านหนังสือ ก็ไม่ควรทำถ้าไม่มีเหตุให้ต้องทำ แม้กระทั่งการรับประทานการดื่ม ในเวลาที่ไม่หิวไม่กระหาย เป็นต้น

๑๑. ก่อนทำสิ่งใดต้องรู้เหตุจำเป็นก่อน

ก่อนจะใช้อิริยาบถ หรือก่อนจะทำสิ่งใด เช่น กินข้าว อาบน้ำ ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ หรือนั่ง นอน ยืน เดิน ต้องรู้ว่าที่ทำเพราะมีความจำเป็น หรือมีเหตุให้ต้องทำ ไม่ทำไม่ได้ เป็นต้น ผู้ปฏิบัติที่ไม่ได้สังเกต บางขณะอาจลุกขึ้นเดินโดยไม่ทราบเหตุผลที่ลุกขึ้นว่าจะลุกขึ้นไปเดินเพราะอะไร บางครั้งมีความตั้งใจจะเดินกรรมฐาน การตั้งใจเช่นนี้ก็ไม่ถูกต้อง หรือบางครั้งกำลังเดินอยู่ นึกอยากจะเลิกก็เลิก อย่างนี้ก็ใช้ไม่ได้ เวลาจะเลิกจากการเดินก็ต้องรู้ว่าจำเป็นต้องเลิกจึงจะค่อยเลิก และจะต้องรู้เหตุของความจำเป็นด้วยว่า ที่ต้องเลิกนั้นเพราะเหตุใด เช่น เพราะเหตุรู้สึกเมื่อยล้า ความเมื่อยล้าบีบคั้นให้ต้องเลิกเดิน เป็นต้น ไม่ใช่เราอยากเลิก ความหมายของความจำเป็นนั้น ค่อนข้างลึกซึ้ง และต้องใช้ไหวพริบในการพิจารณาพอสมควร จึงจะสามารถกันความต้องการ และความไม่รู้ได้ สิ่งเหล่านี้ถ้าไม่ระวังให้ดีความต้องการที่จะทำย่อมแฝงอาศัยอยู่ในความรู้สึกนั้นได้เมื่อกิเลสเข้า อาศัยแล้วจิตของผู้นั้นก็จะเข้าไม่ถึงวิสุทธิได้ในสติปัฏฐาน พระบาลีกล่าวว่า อนิสฺสิโต จ วิหรติหมายถึงว่า ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว(จึงจะเข้าถึงวิสุทธิได้)

๑๒. อย่าทำความรู้สึกว่าที่ทำเพราะจะทำกรรมฐาน

เวลาจะเดิน จะนั่ง จะนอน จะยืน ไม่ให้รู้สึกว่าจะเดินกรรมฐาน จะนั่งกรรมฐาน หรือจะนอนกรรมฐาน ไม่ให้รู้สึกว่าที่ทำเพราะจะทำกรรมฐาน ทั้งนี้ เพราะความรู้สึกที่ว่าตนกำลังทำกรรมฐานนั้น จะสร้างท่าทางที่ผิดปกติไปจากธรรมชาติที่ตนเคยเป็นอยู่โดยไม่รู้ตัว อิริยาบถที่สร้างขึ้นไม่ใช่ของจริง แต่เกิดขึ้นจากอำนาจกิเลสความต้องการ เป็นพื้นฐานของการมีอัตตาบังคับท่าทางต่าง ๆ ตามมา

๑๓. อย่าทำความรู้สึกในเวลาที่กำหนดว่า จะกำหนดเพื่อให้จิตสงบ

อย่าทำความรู้สึกในขณะที่กำหนดนาม-รูปว่าจะกำหนดเพื่อให้จิตสงบเพื่อให้ได้สมาธิหรือตั้งใจว่าจะกำหนดเพื่อให้จิตอยู่ตรงนี้ ไม่ให้จิตเคลื่อนย้ายไปที่อื่นการมีความรู้สึกเช่นนี้ ไม่ถูกต้องหรือบางครั้ง ขณะตั้งใจดูนาม-รูป มีความปรารถนาเพื่อให้เกิดปัญญา จะได้เห็นธรรม หรือดูเพื่อให้ธรรมเกิดขึ้น ในระหว่างที่ดูนั้น หรือดูเพื่อต้องการให้ธรรมที่เราไม่ชอบนั้นหายไป อย่างนี้ก็ยังไม่ถูกต้อง ผู้ปฏิบัติต้องไม่ให้ความรู้สึกดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่ดูที่กำหนด

๑๔.เวลาทำกรรมฐานต้องทำใจให้เหมือนดูละคร    อย่าไปร่วมเล่นละคร

เช่น บังคับจะทำอย่างนั้น บังคับจะทำอย่างนี้ เป็นต้น เช่นนี้ใช้ไม่ได้สำหรับวิปัสสนา ต้องทำความรู้สึก ให้เหมือนกับเราดูละคร อย่างนี้จิตจึงจะเข้าเป็นมัชฌิมา  มิฉะนั้น จิตมักตกไปในอภิชฌา และโทมนัส เสมอ  เมื่ออภิชฌาและโทมนัสเกิดแล้ว ก็ยากที่ปัญญาจะเกิดได้

๑๕.ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอย่าตั้งใจจนเกินกว่าเหตุ

เช่น ตั้งใจจะทำเพื่อให้จิตสงบหรือเป็นสมาธิ เป็นต้น
หลักการทั้ง๑๕ ข้อ เป็นอุบายให้ผู้ปฏิบัติใหม่ทุกคนพึงระลึกถึงอยู่เสมอในขณะกำหนดว่าตนกำลังออกนอกหลักการข้อใดข้อหนึ่งหรือไม่ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความเข้าใจในแง่มุมต่าง ๆ ให้ดีก่อนการปฏิบัติจึงจะได้ผล

จดหมายเหตุ ฯ ประวัติหลวงพ่อใหญ่  ระเบียบปฏิบัติ  ความรู้ก่อนการปฏิบัติ   หลักปฏิบัติ ๑๕ ข้อ


วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ธุดงค์ ๑๓ (องค์คุณเครื่องสลัดหรือกำจัดกิเลส, ข้อปฏิบัติประเภทวัตรที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส ช่วยส่งเสริมด้วยมักน้อยและสันโดษเป็นต้น)



ธุดงค์ ๑๓ (องค์คุณเครื่องสลัดหรือกำจัดกิเลส, 


ข้อปฏิบัติประเภทวัตรที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส 

ช่วยส่งเสริมด้วยมักน้อยและสันโดษเป็นต้น — means of shaking off or removing 

defilements; austere practices; ascetic practices)

หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุต (เกี่ยวกับจีวร — connected with robes)


๑. ปังสุกูลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร 
คำสมาทานโดยอธิษฐานใจหรือเปล่งวาจาว่า "คหปติจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, ปํสุกูลิกงฺคํ สมาทิยามิ" 
แปลว่า "เรางดคฤหบดีจีวร สมาทานองค์แห่งผู้— " refuse-rag-wearer’s practice)


๒. เตจีวริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือทรงเพียงไตรจีวรเป็นวัตร คำสมาทานว่า "จตุตฺถ จีวรํ 
ปฏิกฺขิปามิ, เตจีวริกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดจีวรผืนที่ ๔ สมาทานองค์แห่งผู้—" 
— triple-robe-wearer’s practice)


หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุต (เกี่ยวกับบิณฑบาต — connected with almsfood)


๓. ปิณฑปาติกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คำสมาทานว่า "อติเรกลาภํ 
ปฏิกฺขิปามิ ปิณฺฑปาติกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดอติเรกลาภ สมาทานองค์แห่งผู้—" 
alms-food-eater’s practice)


๔. สปทานจาริกังคะ (องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับเป็นวัตร คำสมาทานว่า 
"โลลุปฺปจารํ ปฏิกฺขิปามิ, สปทานจาริกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า 
"ข้าพเจ้างดการเที่ยวตามใจอยาก สมาทานองค์แห่งผู้ —" — house-to-house-seeker’s 
practice)


๕. เอกาสนิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือนั่งฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร คือฉันวันละมื้อเดียว 
ลุกจากที่แล้วไม่ฉันอีก คำสมาทานว่า "นานาสนโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, เอกาสนิกงฺคํ สมาทิยามิ" 
แปลว่า "ข้าพเจ้างดเว้นการฉัน ณ ต่างอาสนะ สมาทานองค์แห่งผู้— " —one-sessioner’s 
practice)


๖. ปัตตปิณฑิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร คือ ไม่ใช้ภาชนะใส่อาหารเกิน 
๑ อย่างคือบาตร คำสมาทานว่า "ทุติยภาชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ปตฺตปิณฺฑิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า 
"ข้าพเจ้างดภาชนะที่สอง สมาทานองค์แห่งผู้—" — bowl-food-eater’s practice)


๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ (องค์แห่งผู้ถือห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร 
คือเมื่อได้ปลงใจกำหนดอาหารที่เป็นส่วนของตน ซึ่งเรียกว่าห้ามภัต ด้วยการลงมือฉัน 
เป็นต้นแล้ว ไม่รับอาหารที่เขานำมาถวายอีก แม้จะเป็นของประณีต คำสมาทานว่า 
"อติริตฺตโภชนํ ปฏิกฺขิปามิ, ขลุปจฺฉาภตฺติกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า 
"ข้าพเจ้างดโภชนะอันเหลือเฟือ สมาทานองค์แห่งผู้— " — later-food-refuser’s practice)


หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุต (เกี่ยวกับเสนาสนะ — connected with the resting place)

๘. อารัญญิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ห่างบ้านคนอย่างน้อย ๕๐๐ ชั่วธนู คือ ๒๕ 
เส้น คำสมาทานว่า "คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ, อารญฺญิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า 
"ข้าพเจ้างดเสนาสนะชายบ้าน สมาทานองค์แห่งผู้—"—forest-dweller’s practice)


๙. รุกขมูลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่โคนไม้เป็นวัตร คำสมาทานว่า "ฉนฺนํ ปฏิกฺขิปามิ, 
รุกฺขมูลิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดที่มุงบัง สมาทานองค์แห่งผู้—" 
—tree-root-dweller’s practice)


๑๐. อัพโภกาลิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ที่แจ้งเป็นวัตร คำสมาทานว่า "ฉนฺนญฺจ รุกฺขมูลญฺจ 
ปฏิกฺขิปามิ, อพฺโภกาสิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดที่มุงบังและโคนไม้ 
สมาทานองค์แห่งผู้—" —open-air-dweller’s practice)

๑๑. โสสานิกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร คำสมาทานว่า "อสุสานํ ปฏิกฺขิปามิ, 
โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดที่มิใช่ป่าช้า สมาทานองค์แห่งผู้— " 
—charnel-ground-dweller’s practice)




๑๒. ยถาสันถติกังคะ (องค์แห่งผู้ถืออยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจัดให้ คำสมาทานว่า 
"เสนาสนโลลุปฺปํ ปฏิกฺขิปามิ, ยถาสนฺถติกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า 
"ข้าพเจ้างดความอยากเอาแต่ใจในเสนาสนะ สมาทานองค์แห่งผู้—" —any-bed. user’s 
practice)


หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุต (เกี่ยวกับความเพียร — connected with energy)


๑๓. เนสัชชิกังคะ (องค์แห่งผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือเว้นนอน อยู่ด้วยเพียง ๓ อิริยาบถ 
คำสมาทานว่า "เสยฺยํ ปฏิกฺขิปามิ, เนสชฺชิกงฺคํ สมาทิยามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้างดการนอน 
สมาทานองค์แห่งผู้—" —sitter’s practice)


ข้อควรทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุดงค์ ๑๓


ก. โดยย่อธุดงค์มี ๘ ข้อ เท่านั้น คือ


๑) องค์หลัก ๓ (สีสังคะ — principal practices) คือ สปทานจาริกังคะ 
(เท่ากับได้รักษาปิณฑปาติกังคะด้วย) เอกาสนิกังคะ (เท่ากับได้รักษาปัตตปิณฑิกังคะ 
และขลุปัจฉาภัตติกังคะด้วย) และอัพโภกาสิกังคะ (ทำให้รุกขมูลิกังคะ กับ ยถาสันติกังคะ 
หมดความจำเป็น)

๒) องค์เดี่ยวไม่คาบเกี่ยวข้ออื่น ๕ (อสัมภินนังคะ — individual practices) คือ 
อารัญญิกังคะ ปังสุกุลิกังคะ เตจีวริกังคะ เนสัชชิกังคะ และโสสานิกังคะ



ข. โดยนิสสัยคือที่อาศัย (dependence) มี ๒ คือ ปัจจัยนิสิต ๑๒ (อาศัยปัจจัย — 

dependent on requisites) กับ วิริยนิสิต ๑ (อาศัยความเพียร — dependent on
energy)


ค. โดยบุคคลผู้ถือ

๑) ภิกษุ ถือได้ทั้ง ๑๓ ข้อ
๒) ภิกษุณี ถือได้ ๘ ข้อ (คือ ข้อ ๑-๒-๓-๔-๕-๖-๑๒-๑๓)
๓) สามเณร ถือได้ ๑๒ ข้อ (คือ เว้นข้อ ๒ เตจีวรกังคะ)
๔) สิกขมานาและสามเณรี ถือได้ ๗ ข้อ (คือ ลดข้อ ๒ ออกจากที่ภิกษุณีถือได้)
๕) อุบาสกอุบาสิกา ถือได้ ๒ ข้อ (คือ ข้อ ๕ และ ๖)


ง. โดยระดับการถือ แต่ละข้อถือได้ ๓ ระดับ คือ

๑) อย่างอุกฤษฏ์ หรืออย่างเคร่ง เช่น ผู้ถืออยู่ป่า ต้องให้ได้อรุณในป่าตลอดไป
๒) อย่างมัธยม หรืออย่างกลาง เช่น ผู้ถืออยู่ป่า อยู่ในเสนาสนะชายบ้าน ตลอดฤดูฝน ๔ 
เดือน ที่เหลืออยู่ป่า
๓) อย่างอ่อน หรืออย่างเพลา เช่น ผู้ถืออยู่ป่า 
อยู่ในเสนาสนะชายบ้านตลอดฤดูฝนและหนาวรวม ๘ เดือน


จ. ข้อ ๙ และ ๑๐ คือ รุกขมูลิกังคะ และอัพโภกาสิกังคะ ถือได้เฉพาะนอกพรรษา
เพราะวินัยกำหนดให้ต้องถือเสนาสนะในพรรษา


ฉ. ธุดงค์ไม่ใช่บทบัญญัติทางวินัย ขึ้นกับความสมัครใจ มีหลักทั่วไปในการถือว่า 
ถ้าถือแล้วช่วยให้กรรมฐานเจริญ หรือช่วยให้กุศลธรรมเจริญ อกุศลธรรมเสื่อมควรถือ 
ถ้าถือแล้วทำให้กรรมฐานเสื่อม หรือทำให้กุศลธรรมเสื่อม อกุศลธรรมเจริญ ไม่ควรถือ 
ส่วนผู้ที่ถือหรือไม่ถือ ก็ไม่ทำให้กรรมฐานเจริญหรือเสื่อม เช่น 
เป็นพระอรหันต์แล้วอย่างพระมหากัสสปะ เป็นต้น หรือคนอื่นๆ ก็ตาม ควรถือได้ 
ฝ่ายแรกควรถือในเมื่อคิดจะอนุเคราะห์ชุมชนในภายหลัง ฝ่ายหลังเพื่อเป็นวาสนาต่อไป

ช. ธุดงค์ที่มาในบาลีเดิม ไม่พบครบจำนวนในที่เดียว (ที่พบจำนวนมาก คือ 

ม.อุ.๑๔/๑๘๖/๑๓๘; M.III.40 มีข้อ ๑-๓-๕-๘-๙-๑๐-๑๑-๑๒-๑๓; องฺ.ทสก.๒๔/๑๘๑/๒๔๕; 

A.V.219 มีข้อ ๑-๕-๖-๗-๘-๙-๑๐-๑๑-๑๒-๑๓; ขุ.ม.๒๙/๙๑๘/๕๘๔; Nd.188 มีข้อ 

๑-๒-๓-๔-๗-๘-๑๒-๑๓) นอกจากคัมภีร์บริวาร (วินย.๘/๙๘๒/๓๓๐; ๑๑๙๒/๔๗๕; 

Vin.V.131, 198) ซึ่งมีหัวข้อครบ ถ้วน ส่วนคำอธิบายทั้งหมดพึงดูในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.




Vism.59-83. วิสุทฺธิ.๑/๗๓-๑๐๔.

อนันตริยกรรม

อนันตริยกรรม สารานุกรมเสรีอนันตริยกรรม หมายถึง กรรม หนักที่สุด (ครุกรรม) ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี 5 อย่าง คือ มาตุฆาต - ฆ่ามารดา ปิตุ...