วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2561

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ



วันธรรมสวนะ หรือ วันพระ

วันธรรมสวนะ(อ่านว่า วัน-ทำ-มะ-สะ-วะ-นะ) คือ วันกำหนดประชุมฟังธรรมของพุทธบริษัท ที่เรียกเป็นคำสามัญโดยทั่วไปว่า "วันพระ" " เป็นประเพณีนิยมของพุทธบริษัทที่ได้ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแล้วแต่ครั้งพุทธกาล โดยถือว่า การฟังธรรมตามกาลที่กำหนดเป็นประจำไว้ ย่อมก่อให้เกิดสติปัญญาและสิริมงคลแก่ผู้ฟัง อย่างน้อยได้รับธรรมสวนานิสงส์อยู่เสมอ วันกำหนดฟังธรรมนี้ พระพุทธเจ้าทรงปัญญัติไว้ ในเดือนหนึ่ง ๆ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม รวม ๔ วัน ได้แก่



๑. วันขึ้น ๘ ค่ำ
๒. วันขึ้น ๑๕ ค่ำ
๓. วันแรม ๘ ค่ำ
๔.วันแรม ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ (หากตรงกับเดือนขาด เป็น แรม ๑๔ ค่ำ )

ของทุกเดือน วันทั้ง ๔ นี้ ถือกันว่า เป็นวันกำหนดประชุมฟังธรรมโดยปกติ และนิยมเป็นวันรักษาปกติอุโบสถสำหรับฆราวาสผู้ต้องการอบรมกุศลอีกด้วย
วันธรรมสวนะนี้ พุทธบริษัทได้ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่ครั้งสมัยพุทธกาล จนกระทั่งปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมาของวันธรรมสวนะ

ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลว่า "นักบวชศาสนาอื่น เขามีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรม คำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าในศาสนาพุทธยังไม่มี"
พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงพระธรรมเทศนา
แก่ประชาชน ในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ค่ำ พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวัน ธรรมสวนะ เพื่อกำหนดให้มีการประชุมพร้อมเพรียงกันฟังธรรม
ในสมัยพุทธกาล (พุทธกาล=สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่) นั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประชุมพระสงฆ์สาวกเพื่อทรงสั่งสอนธรรม การประชุมสงฆ์วึ่งเป็นสาวกของพระพุทธองค์นั้น ก็ได้นัดหมายไปประชุมกัน และจะมีพระสงฆ์รูปหนึ่งเป็นผู้สวดพระปาฏิโมกข์ พระภิกษุทุกรูปก็จะนั่งฟังด้วยอาการอันสำรวม และตั้งใจจนกระทั่งจบ
คำว่า "สวนะ" แปลว่า การฟัง, และคำว่า "ธรรมสวนะ" แปลว่า การฟังธรรม นั่นคือ วันธรรมสวนะ ก็แปลว่า กำหนดประชุมฟังธรรม หรือพูดตามภาษาชาวบ้านทั่วไปว่า วันไปฟังเทศน์กันนั่นเอง อนึ่ง วันพระ ในทางศาสนาก็ยังได้เรียกว่า วันอุโบสถ ซึ่งแปลว่า วันจำศีลของอุบาสกอุบาสิกาผู้ต้องการบุญกุสลเป็นกรณีพิเศษ
พิธีของชาวบ้าน โดยพุทธศาสนิกชนก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายอาหารหวานคาวแด่พระสงฆ์ สมาทานศีล (รับศีล) และฟังพระธรรมเทศนาที่วัด
ในวันธรรมสวนะนี้ ชาวบ้านก็จะพละเว้นการประพฤติกิจที่เป็นบาปต่าง ๆ การสมาทานศีลในวันนี้ เช่น รับศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ซึ่งเรียกว่า อุโบสถศีล พระสงฆ์จะได้แสดงพระธรรมเทศนา หรือ ธรรมสากัจฉา หรือ สนทนาธรรมกัน ซึ่งนับว่าเกิดเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง
เพราะความมุ่งหมายและเหตุผลมีเช่นนี้ การประชุมฟังธรรมในวันธรรมสวนะจึงมีพิธีกรรมที่ต้องปฏิบัติเกิดขึ้น โดยนิยมเป็นระเบียบปฏิบัติซึ่งเรียกกันว่าขั้นตอนพิธีกรรมดังต่อไปนี้

พิธีกรรมที่นิยมปฏิบัติในวันธรรมสวนะ

๑. ในวันธรรมสวนะตอนเช้า ประมาณ ๙.๐๐ นาฬิกา พระภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกา ประชุมพร้อมกันในสถานที่กำหนดแสดงธรรมจะเป็นโรงอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ ภายในวัด หรือ พุทธสถานสมาคม แห่งใดแห่งหนึ่งก็ได้ จัดให้นั่งกันตามที่เป็นส่วนสัดเรียบร้อย มีพระพุทธรูปและที่บูชาประดิษฐานอยู่เบื้องหน้าจัดให้มีสง่าตามสมควร
๒. เมื่อพร้อมกันแล้วภิกษุสามเณรเริ่มทำวัตรเช้า ตามแบบนิยมซึ่งทั่ว ๆ ไปใช้ระเบียบ คือ
ก ) นำบูชาพระรัตนตรัย (อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ ภคฺวา....)
ข ) สวด ปุพพภาคนมการ (นโม...)
ค ) สวด พุทฺธาภิถุติ (โย โส ตถาคโต...)
ฆ) สวด ธมฺมาภิถุติ (โย โส สฺวากฺขาโต...)
ง ) สวด สงฺฆาภิถุติ (โย โส สุปฏิปนฺโน...)
จ ) สวด รตนตฺตยปฺปณามคาถา และ สงฺเวคปริกิตฺตนปา€ ต่อ (พุทฺโธ สุสุทฺโธ...)
๓. เมื่อภิกษุสามเณรทำวัตรจบเพียงนี้ อุบาสกอุบาสิกาเริ่มทำวัตรตามบทซึ่งกล่าวแล้วในเรื่องพิธีรักษาอุโบสถ
๔. เสร็จพิธีทำวัตร หัวหน้าอุบาสก หรืออุบาสิกาประกาศอุโบสถ พระธรรมกถึกขึ้นธรรมาสน์
๕. เมื่อจบประกาศอุโบสถแล้ว อุบาสกอุบาสิกาทั้งหมด คุกเข่าประณมมือกล่าวคำอาราธนาอุโบสถศีลพร้อมกัน พระธรรมกถึกให้ศีล ๘ เป็นอุโบสถศีลเต็มที่ แต่ถ้าผู้ใดมีอุตสาหะจะรักษาเพียงศีล ๕ เท่านั้น ก็รับสมาทานเพียง ๕ ข้อ ในระหว่าง ข้อที่ ๓ ซึ่งพระธรรมกถึกให้ด้วยบทว่า อพฺรหฺมจริยา.... พึงรับสมาทานว่า กาเมสุมิจฺฉาจารา.... เสีย และรับต่อไปจนครบ ๕ ข้อ เมื่อครบแล้วก็กราบ ๓ ครั้ง ลงนั่งราบไม่ต้องรับต่อไป
๖. ต่อจากรับศีลแล้ว พระธรรมกถึกแสดงธรรม ระหว่างแสดงธรรมพึงประณมมือฟังด้วยความตั้งใจจนจบ
๗. เมื่อเทศน์จบแล้ว หัวหน้านำกล่าวสาธุการตามแบบที่กล่าวในเรื่องพิธีรักษาอุโบสถ จบแล้วเป็นอันเสร็จ พิธีประชุมฟังธรรมตอนเช้า จะกลับบ้านหรือจะอยู่ฟังธรรมในตอนบ่ายก็แล้วแต่อัธยาศัย

พิธีรักษาอุโบสถ


อุโบสถ เป็นเรื่องของกุศลกรรมสำคัญประการหนึ่งของคฤหัสถ์ แปลว่าการเข้าจำ เป็นอุบายขัดเกลากิเลสอย่างหยาบให้เบาบาง และเป็นทางแห่งความสงบ ระงับอันเป็นความสุขอย่างสูงสุดในพระพุทธศาสนา
เพราะฉะนั้น พุทธศาสนิกชนผู้อยู่ในฆราวาสวินัย จึงนิยมเอาใจใส่หาโอกาสประพฤติปฏิบัติตามสมควร อุโบสถของคฤหัสถ์ที่กล่าวนี้มี ๒ อย่าง คือ ปกติอุโบสถอย่าง ๑ ปฏิชาครอุโบสถอย่าง ๑
โบสถที่รับรักษากันตามปรกติเฉพาะวันหนึ่งคือหนึ่งอย่างที่รักษากันตามปกติทั่วไป เรียกว่า ปกติอุโบสถ, ส่วนอุโบสถที่รับและรักษาเป็นพิเศษกว่าปรกติ คือ รักษาคราวละ ๓ วัน จัดเป็นวันรับวันหนึ่ง วันรักษาวันหนึ่ง และวันส่งวันหนึ่ง เช่น จะรักษาอุโบสถวัน ๘ ค่ำ ต้องรับและรักษามาแต่วัน ๗ ค่ำ ตลอดไปถึงสุดวัน ๙ ค่ำ คือ ได้อรุณใหม่ของวัน ๑๐ ค่ำนั่นเอง จึงหยุดรักษา อย่างนี้เรียกว่า ปฏิชาครอุโบสถ
ทั้ง ๒ อย่างนี้ ต่างกันเฉพาะวันที่รักษามากน้อยกว่ากันเท่านั้น และการรักษาอุโบสถทั้ง ๒ อย่างนี้ โดยเนื้อแท้ ก็คือสมาทานรักษาศีล ๘ อย่างเคร่าครัด เป็นเอกัชฌสมาทานมั่นคงอยู่ด้วยความผูกใจจนตลอดกาลของอุโบสถที่ตนสมาทานนั้น จึงเป็นเหตุให้เกิดประโยชน์สำคัญดังกล่าวแล้วการรักษาอุโบสถนี้ ประกอบด้วยพิธีกรรมซึ่งปฏิบัติกันมาโดยระเบียบต่อไปนี้


ขั้นตอนพิธี


๑. เมื่อตั้งใจจะรักษาอุโบสถวันพระใด พึงตื่นแต่เช้ามืดก่อนรุ่งอรุณของวันนั้นพอได้เวลารุ่งอรุณของวันนั้น พึงเตรียมตัวให้สะอาดเรียบร้อยตลอดถึงการบ้วนปากแล้วบูชาพระเปล่งวาจกอธิษฐานอุโบสถด้วยตนเองก่อนว่า "อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ" แปลเป็นภาษาไทยว่า "ข้าพเจ้าขอสมาทานเอาซึ่งองค์อุโบสถศีล ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ อันประกอบด้วยองค์แปดประการนี้ เพื่อจะรักษาไว้ให้ดี มิให้ขาด มิให้ทำลาย ตลอดคืนหนึ่งและวันหนึ่งในเวลาวันนี้" แล้วยับยั้งรอเวลาอยู่ด้วยอาการสงบเสงี่ยมตามสมควร รับประทานอาหารเช้าแล้วไปสู่สมาคม ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อรับสมาทานอุโบสถศีลต่อพระสงฆ์ตามประเพณี
๒. โดยปรกติอุโบสถนั้น เป็นวันธรรมสวนะ ภายในวัดพระสงฆ์สามเณรย่อมลงประชุมกันในพระอุโบสถหรือศาลาการเปรียญ เป็นต้น หลังจากฉันภัตตาหารเช้าแล้ว บางแห่งมีทำบุญตักบาตรที่วัดประจำทุกวันพระภิกษุสามเณรลงฉันอาหารบิณฑบาตพร้อมกันทั้งวัด เสร็จภัตตาหารแล้วขึ้นกุฏิทำสรีรกิจพอสมควร แล้วลงประชุมพร้อมกันอีกครั้งหนึ่งตอนสายประมาณ ๙.๐๐ นาฬิกา ต่อหน้าอุบาสกอุบาสิกา แล้วทำวัตรเช้า พอภิกษุสามเณรทำวัตรเสร็จ อุบาสกอุบาสิกา พึงทำวัตรเช้าร่วมกันตามแบบนิยมของวัดนั้น ๆ
๓. ทำวัตรจบแล้ว หัวหน้าอุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม พึงคุกเข่าประนมมือประกาศองค์อุโบสถ ทั้งคำบาลีและคำไทย


คำประกาศองค์อุโบสถ


อัชชะ โภนโต ปักขัสสะ อัฏฐะมีทิวะโส เอวะรูโป โข โภนโต ทิวะโส, พุทเธนะ ภะคะวะตา ปัญญัตตัสสะ ธัมมัสสะวะนัสสะ เจวะ, ตะททัคถายะ อุปาสะกะอุปาสิกานัง อุโปสถัสสะ จะ กาโล โหติ, หันทะ มะยัง โภนโต สัพเพ อิธะ สะมาคะตา, ตัสสะ ภะคะวะโต ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา ปูชะนัตถายะ, อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง อุปะวะสิสสามาติ, กาละปะริจเฉทัง กัตวา ตัง ตัง เวรมณิง อารัมมะณัง กะริตวา, อะวิกขิตตะจิตตา หุตวา สักกัจจัง อุโปสะถัง สะมาทิเยยยามะ, อีทิสัง หิ อุโปสะถัง สัมปัตตานัง อัมหากัง ชีวิตัง มา นิรัตถะกัง โหตุ.

คำแปล
ขอประกาศเริ่ม เรื่องความที่จะสมาทานรักษาอุโบสถอันพร้อมไปด้วยองค์ ๘ ประการให้สาธุชนที่ได้ตั้งจิตสมาทานทราบทั้งกันก่อนแต่จะสมาทาน ณ บัดนี้ ด้วยวันนี้ เป็น วันอัฏฐมีดิถีที่แปด แห่งปักษ์มาถึงแล้ว ก็แหละวันเช่นนี้เป็นกาลที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแต่งตั้งไว้ในประชุมกันฟังธรรม และเป็นกาลที่จะรักษาอุโบสถของอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายเพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรมนั้นด้วย
เชิญเถิดเราทั้งหลายทั้งปวงที่ได้มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นี้ พึงกำหนดกาลว่า จะรักษาอุโบสถตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่งนี้ แล้วพึงทำความเว้นโทษนั้น ๆ เป็นอารมณ์ ( คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ ๑ เว้นจากลักฉ้อสิ่งที่เจ้าของเขาไม่ให้ ๑ เว้นจากประพฤติกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ๑ เว้น จากเจรจาคำเท็จล่อลวงผู้อื่น ๑ เว้นจากดื่มกินสุราเมรัยอันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ เว้นจากบริโภคอาหารตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์เที่ยงแล้วไปจนถึงเวลาอรุณขึ้นมาใหม่ ๑ เว้นจากฟ้อนรำขับร้องและประโคมเครื่องดนตรีต่าง ๆ และการดูการละเล่น แต่บรรดาที่เป็นข้าศึกแก่กุศลทั้งสิ้น และทัดทรงประทับตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอมเครื่องประดับเครื่องทำ เครื่องย้อม ผัดผิวทำกายให้วิจิตรงดงามต่าง ๆ อันเป็นเหตุที่ตั้งแห่งความกำหนัดยินดี ๑ เว้นจากนั่งนอกนเหนือเตียงตั่งม้าที่มีเท้าสูงเกินประมาณและที่นั่งที่นอนใหญ่ ภายในมีนุ่นและสำลีเครื่องปูลาดที่วิจิตรด้วยเงินและทองต่าง ๆ ๑) อย่าให้จิตฟุ้งซ่านส่งไปอื่น
พึงสมาทานเอาองค์อุโบสถทั้งแปดประการโดยเคารพ เพื่อจะบูชาสมเด็จพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้านั้นด้วยธรรมานุธรรมปฏิบัติ อนึ่ง ชีวิตของเราทั้งหลายที่ได้เป็นอยู่รอดมาถึงวันอุโบสถเช่นนี้ จงอย่าได้ล่วงไปเสียเปล่าจากประโยชน์เลย

หมายเหตุ :-
คำประกาศนี้สำหรับวันพระ ๘ ค่ำทั้งข้างขึ้นและข้างแรม ถ้าเป็นวันพระ ๒๕ ค่ำเปลี่ยนบาลีเฉพาะคำที่ขีดเส้นใต้ว่า ปัณณะระสี ทิวะโสและเปลี่ยนคำไทยที่ขีดเส้นใต้เป็นว่า "วันปัณณรสีดิถีที่สิบห้า ถ้าเป็นวันพระ ๑๔ ค่ำ เปลี่ยนบาลีตรงนั้นว่า จาตุทฺทสีทิวโส และเปลี่ยนคำไทยแห่งเดียวกันว่า" วันจาตุททสีดิถีที่สิบสี่"
สำหรับคำไทยภายในวงเล็บ จะว่าด้วยก็ได้ ไม่ว่าด้วยก็ได้ แต่มีนิยมว่าในวัด ท่านให้สมาทานอุโบสถศีลบอกให้สมาทานทั้งคำบาลี และคำแปลในตอนต่อไปเป็นข้อ ๆ เวลาประกาศก่อนสมาทานนี้ไม่ต้องว่าคำในวงเล็บเพราะพระท่านจะบอกให้สมาทาน
เมื่อจบประกาศนี้แล้ว สำหรับวัดที่ท่านให้สมาทานอุโบสถศีลแต่เฉพาะคำบาลีเท่านั้นไม่บอกคำแปลด้วย เวลาประกาศก่อนสมาทานนี้ ควรว่าความในวงเล็บทั้งหมด
๔. เมื่อหัวหน้าประกาศจบแล้ว พระสงฆ์ผู้แสดงธรรมขึ้นนั่งบนธรรมาสน์ อุบาสกอุบาสิกาทุกคน พึงนั่งคุกเข่ากราบพร้อมกัน ๓ ครั้ง แล้วกล่าวคำอาราธนาอุโบสถศีลพร้อมกันว่า
มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ
ต่อจากนั้นควรตั้งใจรับสรณคมน์และศีลโดยเคารพ คือ ประนมมือ
๕.พึงว่าตามคำสั่งที่พระสงฆ์บอกเป็นตอน ๆ ไป คือ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
เมื่อพระสงฆ์ว่า "ติสะระณะคะมะมัง นิฏฐิตัง" ควรรับพร้อมกันว่า "อามะ ภันเต" แล้วท่านจะให้ศีลต่อไป คอยรับพร้อมกันตามระยะที่ท่านหยุดดังต่อไปนี้
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(อะพรัหมมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ)
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(ต่อจากนี้พระท่านจะสรุปอานิสงส์ของศีล เราควรตั้งใจฟังเพื่อให้เกิดเป็นบุญกุศลจริง ๆ)
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย
ถ้าให้ศีล ๘ ก็ว่าเหมือนกัน เปลี่ยนแต่ข้อ กาเม เป็นอะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ เท่านั้น แล้วต่อจากข้อ สุรา ไปดังนี้
วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
(สรุปเหมือนศีล ๕ เปลี่ยนแต่ ปัญจะ เป็น อัฏฐะ เท่านั้น)
ถ้าให้อุโบสถศีล ใช้นำว่าต่อจากข้อสุดท้าย ทีละตอน ดังนี้
อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง, พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะกัง,
อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง, สัมมะเทวะ อะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ
หยุดรับเพียงเท่านี้ ในการให้ศีลอุโบสถนี้ตลอดถึงคำสมาทานท้ายศีลบางวัดให้เฉพาะคำบาลี มิได้แปลให้ บางวัดให้คำแปลด้วย ทั้งนี้สุดแต่นิยมอย่างใดตามความเหมาะสมของบุคคลและสถานที่นั้น ๆ ถ้าท่านแปลให้ด้วย พึงว่าตามเป็นข้อ ๆ และคำ ๆ ไปจนจบ ต่อนี้พระสงฆ์จะว่า" อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิอุโปสะถะวะเสนะ มะนะสิกะริตวา, สาธุกัง อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ " พึงรับพร้อมกันเมื่อท่านกล่าวจบคำนี้ว่า "อามะ ภันเต" แล้วพระสงฆ์จะว่าอานิสงส์ศีลต่อไป ดังนี้
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย
พอท่านว่าจบ พึงกราบพร้อมกัน ๓ ครั้ง ต่อนี้นั่งราบพับเพียบประนมมือฟังธรรมซึ่งท่านจะได้แสดงต่อไปนี้
๖. เมื่อพระแสดงธรรมจบแล้ว ทุกคนพึงให้สาธุการและสวดประกาศตนพร้อมกัน
สาธุ สาธุ สาธุ
อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณัง คะโต (หญิงว่า คะตา)
อุปาสะกัตตัง (หญิงว่า อุปาสิกัตตัง) เทเสสิง ภิกขุสังฆัสสะ สัมมุขา
เอตัง เม สะระณัง เขมัง เอตัง สะระณะมุตตะมัง
เอตัง สะระณะมาคัมมะ สัพพะทุกขา ปะมุจจะเย
ยะถาพะลัง จะเรยยาหัง สัมมาสัมพุทธะสาสะนัง
ทุกขะนิสสะระณัสเสวะ ภาคี อัสสัง (หญิงว่า ภาคินิสสัง) อะนาคะเต ฯ
หมายเหตุ : -
คำสวดประกาศข้างต้นนี้ ถ้าผู้ว่าเป็นผู้หญิง พึงเปลี่ยนคำที่เน้นคำไว้ ดังนี้
คะโต เปลี่ยนเป็นว่า คะตา
อุปาสะกัตตัง เปลี่ยนเป็นว่า อุปาสิกัตตัง
ภาคี อัสสัง เปลี่ยนเป็นว่า ภาคินิสสัง
นอกนั้นว่าเหมือนกัน
เมื่อสวดประกาศนี้จบแล้ว พึงกราบพร้อมกันอีก ๓ ครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีตอนเช้าเพียงเท่านี้
๗. ต่อนี้ผู้รักษาอุโบสถพึงยับยั้งอยู่ที่วัด ด้วยการนั่งสมาทานธรรมกันบ้างภาวนากัมมัฏฐานตามสัปปายะของตนบ้าง หรือจะท่องบ่นสวดมนต์และอ่านหนังสือธรรมอะไร ก็ได้

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2561

วันจักรี

วันจักรี (Chakri day)

วันจักรี ตรงกับ วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันที่ระลึกถึง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ มหาจักรีบรมราชวงศ์

วันจักรี สำคัญอย่างไร

วันจักรี หมายถึง วันที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ปฐมบรมราชวงศ์จักรี เสด็จกรีฑาทัพถึงพระมหานครทรงรับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ดำรงราชอาณาจักรสยามประเทศ

ประวัติวันจักรี (Chakri day)

เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (ร.๑) เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็น กษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทย มาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ พระองค์ (ร.๑ – ร.๔) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ มา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมสักการะ โดยเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และ พระที่นั่งศิวาลัยปราสาท เป็นต้น
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้น โปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง ๔ ( ร.๑ – ร.๔ ) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ ๕ พระชนกนาถ พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้ซ่อมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานนามดังกล่าว การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง ๕ รัชกาล สำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ ๖ เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรดฯ ให้เรียกวันที่ ๖ เมษายนว่าเป็น “วันจักรี
วันจักรี
ราชวงศ์จักรี
วันจักรี
ลำดับราชวงศ์จักรี

ตราราชวงศ์จักรี ประจำพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่างๆ

R-0
ตราราชวงศ์จักรี
ชื่อของราชวงศ์จักรีมีที่มาจากบรรดาศักดิ์ “เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์” ตำแหน่งสมุหนายก ซึ่งเป็นตำแหน่งทางราชการที่พระองค์เคยทรงดำรงตำแหน่งมาก่อนในสมัยกรุง ธนบุรี คำว่า “จักรี” พ้องเสียงกับคำว่า “จักร” และ “ตรี” ซึ่งเป็นเทพอาวุธของพระนารายณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระแสงจักรและพระแสงตรีไว้ 1 สำรับ และกำหนดให้ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์จักรีสืบมาจนถึงปัจจุบัน
R-1
ตราประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี
“มหาอุณาโลม” ลักษณะกลมรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ “อุ” อยู่ตรงกลาง (“อุ” มีลักษณะ เป็นม้วนกลม คล้ายลักษณะพระนามเดิมว่า “ด้วง”)
หมายถึง ตาที่สามของพระอศวร ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตัั้งพระบรมราชจักรีวงศ์ ล้มด้วยกลีบบัว ซึ่งเป็นพฤกษชาติสิริมงคล ทางพระพุทธศาสนา
R-2
ตราประจำรัชกาลที่ ๒ แห่งราชวงศ์จักรี
“ครุฑจับนาค” ลักษณะรูปครุฑจับนาค เนื่องจากพระนามเดิมคือ “ฉิม” ซึ่งตามความหมายของวรรณคดีไทย คือ ที่อยู่ของพญาครุฑ
R-3
ตราประจำรัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี
“มหาปราสาท” ลักษณะกลม รูปปราสาท เนื่องจากพระนามเดิมคือ “ทับ” ซึ่งหมายถึงที่อยู่หรือเรือน จึงโปรดเกล้าให้สร้างพรลัญจกรเป็นรูปปราสาท
R-4
ตราประจำรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี
“พระมหาพิชัยมงกุฏ” ลักษณะกลมรี รูปพระมหามงกุฏ ตามพระนามเดิมคือ เจ้าฟ้ามงกุฏ อยู่ในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ มีฉัตรปริวาร ๒ ข้าง มีพาน ๒ ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือเพชร ข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งวางสมุดตำรา
R-5
ตราประจำรัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี
“พระจุลมงกุฏ หรือ พระเกี้ยว” ลักษณะกลมรี มีรูปพระเกี้ยวยอดมีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง ๒ ชั้น เคียงด้วยฉัตรปริวาร ๒ ข้าง ที่ริมขอบทั้ง ๒ ข้าง มีพานทอง ๒ ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือเพชรข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งวางสมุดตำรา
R-6
ตราประจำรัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์จักรี
“มหาวชิราวุธ” ลักษณะกลมรี รูปวชิรรวุธ มีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง ๒ ชั้น มีฉัตรปริวาน ๒ ข้าง โดยพระนามของพระองค์นี้ มีความหมาย คือ ศัตราวุธของพระอินทร์
R-7
ตราประจำรัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรี
“พระไตรศร” ลักษณะกลมรี รูปราวพาดพระแสงศร ๓ องค์ คือ พระแสงศรพรหมศาสตร์, พระแสงศรอัคนีวาต และพระแสงศรประลัยวาต ( เป็นศรของพระพรหม, พระนารายณ์ และพระอศวร)
R-8
ตราประจำรัชกาลที่ ๘ แห่งราชวงศ์จักรี
“รูปพระโพธิสัตว์” ลักษณะทรงกลมกว้าง 7 ซ.ม. ลักษณะประทับบนบัลลังก์ดอกบัวห้อยพระบาทขวาเหยียบบัวบาน หมายถึง แผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้ว ด้านหลังแท่นรัศมี มีแท่น รองรับตั้งฉัตรบริวาร ๒ ข้าง เป็นสัญลักษณ์ของ ปรมาภิไธยว่า อานันทมหิดล ซึ่งแปลว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดิน
R-9
ตรงประจำรัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี
“พระแท่นอัฏทิศ อุทุมพรราชอาสน์” ลักษณะรูปไข่ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระ “อุ” รอบๆ มีรัศมี มีความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน
ตราพระราชลัญจกรนี้ ตั้งแต่ รัชกาลที่ ๖ จนถึงปัจจุบัน สร้างขึ้นเพื่อใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนประองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2561

ธรรมนิยาม


ปัพพะโตปะมะคาถา

ยะถาปิ เสลา วิปุลา นะภัง อาหัจจะ ปัพพะตา

สะมันตา อะนุปะริเยยยุง นิปโปเถนตา จะตุททิสา

เอวัง ชะรา จะ มัจจุ จะ อะธิวัตตันติ ปาณิโน

ขัตติเย พราหมะเณ เวสเส สุทเท จัณฑาละปุกกุเส

นะ กิญจิ ปะริวัชเชติ สัพพะเมวาภิมัททะติ

นะ ตัตถะ หัตถีนัง ภูมิ นะ ระถานัง นะ ปัตติยา

นะ จาปิ มันตะยุทเธนะ สักกา เชตุง ธะเนนะ วา

ตัส๎มา หิ ปัณฑิโต โปโส สัมปัสสัง อัตถะมัตตะโน

พุทเธ ธัมเม จะ สังเฆ จะ ธีโร สัทธัง นิเวสะเย

โย ธัมมะจารี กาเยนะ วาจายะ อุทะ เจตะสา

อิเธวะ นัง ปะสังสันติ เปจจะ สัคเค ปะโมทะติ


อะริยะธะนะคาถา

ยัสสะ สัทธา ตะถาคะเต อะจะลา สุปะติฏฐิตา

สีลัญจะ ยัสสะ กัล๎ยาณัง อะริยะกันตัง ปะสังสิตัง

สังเฆ ปะสาโท ยัสสัตถิ อุชุภูตัญจะ ทัสสะนัง

อะทะลิทโทติ ตัง อาหุ อะโมฆันตัสสะ ชีวิตัง

ตัส๎มา สัทธัญจะ สีลัญจะ ปะสาทัง ธัมมะทัสสะนัง

อะนุยุญเชถะ เมธาวี สะรัง พุทธานะ สาสะนันติ


บทขัดธรรมนิยามะสูตร

ยัง เว นิพพานะญาณัสสะ ญาณัง ปุพเพ ปะวัตตะเต

ตัสเสวะ วิสะยีภูตา ยายัง ธัมมะนิยามะตา

อะนิจจะตา ทุกขะตา จะ สัพเพสังจะอะนัตตะตา

ตัสสา ปะกาสะกัง สุตตัง ยัง สัมพุทเธนะ ภาสิตัง

สาธูนัง ญาณะจาเรนะ ยะถา พุทเธนะ เทสิตัง

โยนิโส ปะฏิปัต๎ยัตถง ตัง ตัง สุตตันตัง ภะณามะ เส

ธัมมะนิยามะสุตตัง

เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ ตัต๎ระ โข ภะคะวา ภิกขูอามันเตสิภิกขะโวติฯ ภะทันเตติเต ภิกขูภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง ฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ




อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานัง ฐิตา วะ สา ธาตุธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขารา อะนิจจาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติอะภิสัมพุชฌิต๎วา อะภิสะเมต๎วา อาจิกขะติเทเสติ ปัญญะเปติปัฏฐะเปติวิวะระติวิภะชะติอุตตานีกะโรติสัพเพ สังขาราอะนิจจาติ ฯ

อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานังฐิตาวะ สา ธาตุ ธัมมัฏฐิตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ สังขารา ทุกขาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิต๎วา อะภิสะเมต๎วา อาจิกขะติเทเสติปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติวิวะระติวิภะชะติอุตตานีกะโรติสัพเพ สังขารา ทุกขาติ ฯ


อุปปาทา วา ภิกขะเว ตะถาคะตานัง อะนุปปาทา วา ตะถาคะตานังฐิตาวะ สาธาตุธัมมัฏฐิ ตะตา ธัมมะนิยามะตา สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ ตัง ตะถาคะโต อะภิสัมพุชฌะติ อะภิสะเมติ อะภิสัมพุชฌิต๎วา อะภิสะเมต๎วา อาจิกขะติเทเสติปัญญะเปติ ปัฏฐะเปติวิวะระติวิภะชะติอุตตานีกะโรติสัพเพ ธัมมา อะนัตตาติฯ อิทะมะโว จะ ภะคะวาฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตังอะภินันทุนติ


คำแปล ความหมาย บทสวดธัมมนิยาม


ปัพพโตปมคาถา 

(ชราและมรณะเปรียบประดุจภูเขาหินที่กลิ้งบดทับสัตว์ทั้งหลาย)

ภูเขาทั้งหลาย เป็นหินล้วน ๆ สูงจรดฟ้า กลิ้งบดทับสัตว์มาโดยรอบทั้ง ๔ ทิส แม้ฉันใด ความแก่และความตาย ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ก็ตาม พราหมณ์ก็ตาม เป็นพลเมืองก็ตาม เป็นไพร่ก็ตาม เป็นคนยากจนเทหยากเยื่อก็ตาม ย่อมถูกความแก่และความตายครอบงำโดยไม่เว้นเลย ช้างศึกทั้งหลายไม่มีภูมิต้านทานในความแก่และความตายนั้น รถศึกทั้งหลาย และพลเดินเท้าทั้งหลาย ก็ไม่มีภูมิต้านทานในความแก่และความตายนั้น

อนึ่งไม่ว่าจะเป็นการสู้รบ ไม่ว่าจะเป็นเวทมนต์ หรือทรัพย์ก็ตาม ไม่อาจทำให้ใคร ๆ เอาชนะความแก่และความตายนั้นได้เลย 

เพราะเหตุนั้นแล บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมือ่เห็นประโยชน์ตน ผู้ที่มีปัญญา ควรจะปลูกฝังความเชื่อให้มีในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้ประพฤติธรรมด้วยกาย วาจา ใจ ในโลกนี้นั่นเทียว และผู้ประพฤติธรรมนั้นเมื่อตายจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมมีความบันเทิงในสวรรค์แล ฯ

อริยธนาคาถา
(อริยทรัพย์อันประเสริฐ)

ความเชื่อของบุคคลผู้ใด ตั้งมั่นคงไม่หวั่นไหวในพระตถาคตเจ้า อนึ่ง ศีลของบุคคลผู้ใดดีงาม เป็นที่ยินดีแห่งพระอริยเจ้า ซึ่งพระอริยเจ้าสรรเสริญแล้ว 

ความเลื่อมใสในพระอริยสงฆ์ มีอยู่แล้วในบุคคลใด และเมื่อความเห็นของบุคคลใด เป็นความเห็นคงที่เห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวว่าผู้นั้นเป็นผู้ไม่ยากจน ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์

เพราะฉะนั้นผู้มีปัญญา เมื่อมาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ก็ควรประกอบตนให้มีความเชื่อ ประกอบในศีล และให้มีความเลื่อมใส และประกอบใจให้มีความเห็นในธรรมไว้เนือง ๆ ดังนี้แล ฯ


ธัมมนิยามสุตตุง

(พระสูตรแสดงความแน่นอนแห่งสภาวะธรรมทั่วไป)

ข้าพเจ้าได้ฟังมาจากพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหารของท่าน อนาถปิณฑกเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี ฯ ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติภิกษุทั้งหลาย ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์, ครั้นเมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลด้วยความเคารพพร้อมที่จะรับฟังแล้ว พระผู้มีพระภาคเข้าจึงได้ตรัสอย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายหรือว่าความไม่เกิดขึ้นแห่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย สักแต่ว่าเป็นธาตุที่ตั้งอยู่กำหนดอยู่แล้วตามธรรมดา ว่าเป็นสังขารคือรูปนามที่มีเหตุมาจากธาตุทั้งหลายประชุมกัน โดยมี อวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น ล้วนแต่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ฯ เราตถาคตรู้พร้อมเฉพาะอยู่ ถึงเฉพาะอยู่, ส่วนธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว บอกกล่าวแสดงบัญญัติแต่งตั้งแล้ว เปิดเผยจำแนกทำความให้ตื้นขึ้นเป็นที่เข้าใจง่ายว่า สังขารคือรูปนามที่มีเหตุทั้งหลายมาจากธาตุทั้งหลายประชุมกัน โดยมี อวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น ล้วนแต่ไม่เที่ยง มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรปรวนไป แล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายหรือว่าความไม่เกิดขึ้นแห่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย สักแต่ว่าเป็นธาตุที่ตั้งอยู่ มีอยู่ กำหนดอยู่แล้วตามธรรมดา ว่าเป็นสังขารคือรูปนามที่มีเหตุมาจากธาตุทั้งหลายประชุมกัน โดยมี อวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น ล้วนแต่เป็นทุกข์เหลือทน ทนต่อการถูกกระทบกระทั่งเบียดเบียนไม่ได้ ฯ เราตถาคตรู้พร้อมเฉพาะอยู่ ถึงพร้อมเฉพาะอยู่, ส่วนธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว บอกกล่าวบัญญัติแต่งตั้งแล้ว เปิดเผยจำแนกทำความให้ตื้นเป็นที่เข้าใจง่ายว่า สังขารคือรูปนามที่มีเหตุมาจากธาตุทั้งหลายประชุมกัน โดยมี อวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น ล้วนแต่เป็นทุกข์เหลือทน ทนต่อการถูกกระทบกระทั่งเบียดเบียนไม่ได้ ดังนี้ ฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้นของพระตถาคตเจ้าทั้งหลายหรือว่าความไม่เกิดขึ้นแห่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย สักแต่ว่าเป็นธาตุที่ตั้งอยู่ มีอยู่ กำหนดอยู่แล้วตามธรรมดา ว่าเป็นธรรม ๒ อย่าง คือเป็นรูปธรรมที่มีเหตุมาจากธาตุทั้งหลายประชุมกัน โดยมี อวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น นี้อย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งคือ ธรรมที่ไม่ใช่รูปนาม ไม่มี อวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น ทั้งหมดล้วนแต่เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน มิใช่ของเรา ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารของเรา ต้องสลายไป ฯ เราตถาคตรู้พร้อมเฉพาะอยู่ ถึงพร้อมเฉพาะอยู่, ส่วนธาตุนั้น ครั้นรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ถึงพร้อมเฉพาะแล้ว บอกกล่าวแสดงบัญญัติแต่งตั้งแล้ว เปิดเผยจำแนกทำความให้ตื้นเป็นที่เข้าใจง่ายว่า ธรรมทั้งหลายคือรูปนามที่มีเหตุมาจากธาตุทั้งหลายประชุมกัน โดยมี อวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น นี้อย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งเป็นธรรมที่มิใช่รูปนาม ไม่มี อวิชชา ตัณหา กรรม ปรุงแต่งขึ้น ทั้งหมดล้วนแต่เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน มิใช่ของเรา ไม่มีอะไรเป็นแก่นสารของเรา ต้องสลายไป ดังนี้ ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้จบลงแล้ว ฯ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นก็มีใจยินดี เพลิดเพลินในพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการฉะนี้แล ฯ

อนันตริยกรรม

อนันตริยกรรม สารานุกรมเสรีอนันตริยกรรม หมายถึง กรรม หนักที่สุด (ครุกรรม) ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี 5 อย่าง คือ มาตุฆาต - ฆ่ามารดา ปิตุ...