วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

เบญจกัลยาณี

เบญจกัลยาณี 

เบญจกัลยาณี (แปลว่า ผู้มีความงาม 5 ประการ) หมายถึงสตรีผู้มีศุภลักษณ์หรือลักษณะที่งาม 5 ประการ คือ

ลักษณะของเบญจกัลยาณีอธิบายตามความคิดเห็นของท่านผู้รู้แต่โบราณว่า


ลักษณะเบญจกัลยาณี ๕ อย่าง


ผมงาม หมายถึง ผมซึ่งยาวสลวยลงมาแล้วมีปลายช้อนขึ้นเองโดยธรรมชาติ ลักษณะผมของหญิงผู้มีบุญมาก เป็นเช่นกับกำหางนกยูง เวลาปล่อยระชายผ้านุ่งแล้ว ก็กลับมีปลายงอนขึ้นตั้งอยู่

ฟันงาม หมายถึง ฟันขาวสะอาดเป็นระเบียบเรียงรายประดุจไข่มุกที่นายช่างจัดเข้าระเบียบแล้ว ฟันขาวเรียบไม่ห่างกัน งดงามดุจระเบียบแห่งเพชรที่เขายกขึ้นตั้งไว้ และดุจระเบียบแห่งสังข์ที่เขาขัดสีดีแล้ว

ริมฝีปากงาม หมายถึง ริมฝีปากบางโค้งเป็นรูปกระจับสีชมพูเรื่อคล้ายผลตำลึงสุก ถึงพร้อมด้วยสีเรียบชิดสนิทดี เป็นเองโดยธรรมชาติ มิใช่เพราะตกแต่งแต้มทา

ผิวงาม ลักษณะนี้มี ๒ อย่าง คือ ถ้าผิวขาวก็ขาวละเอียดอ่อนเหมือนสีดอกกรรณิการ์ ถ้าผิวดำก็ดำอย่างดอกอุบลเขียว อมเลือดอมฝาด เปล่งปลั่งคล้ายสีน้ำผึ้งซึ่งนำมาจากรังผึ้งใหม่ๆ

วัยงาม หมายถึง เป็นคนงามตามวัย งามทุกวัย เมื่ออยู่ในวัยเด็กก็งามอย่างเด็ก เมื่ออยู่ในวัยสาวก็งามอย่างหญิงสาว เมื่ออยู่ในวัยชราก็งามอย่างคนชรา และหญิงแม้คลอดแล้วตั้ง ๑๐ ครั้ง ก็เหมือนคลอดครั้งเดียว ยังสาวพริ้งอยู่ทีเดียว (พระอานนท์พุทธอนุชา วศิน อินทสระ

ลักษณะเบญจกัลยาณีนี้ ในธรรมบทมีปรากฏชัดครบทั้ง ๕ ประการในนางวิสาขา ผู้ได้นามว่ามหาอุบาสิกา เรื่องราวของนางวิสาขานี้ควรแก่การศึกษาเป็นอย่างมาก เป็นต้นแบบของกุลสตรีทั้งหลาย

ตำนานว่า นางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นเบญจกัลยาณีคนหนึ่งในสมัยพุทธกาล

ตำนานเรื่องนางวิสาขา ผู้สร้างปุพพรามปราสาทถวายเป็นวัดครั้งพุทธกาลชมนางวิสาขาว่าวัยงามนักหนา นางมีบุตรชาย 10 บุตรหญิง 10 บุตรชายหญิงมีบุตรชายหญิงอีกคนละ 10 ตลอดชีวิตของนางมีบุตรหลายถึง 8,420 คน นางวิสาขาไปที่ใด บุตรหลานห้อมล้อมไปเป็นหมู่ ผู้คนดูไม่ออกว่าคนไหนคือนางวิสาขา เพราะเห็นเป็นหนุ่มเป็นสาวเสมอเหมือนกันหมด นางวิสาขามีอายุยืนถึง 120 ปี และเป็นลูกสาวเศรษฐี ได้กินอิ่ม นอนหลับเต็มที่ ประกอบกับใจบุญด้วย จึงงามทั้งกายใจ


เป็นผู้หญิงตำราที่ว่าสวย
ต้องกอปรด้วยเบญจลักษณ์เป็นศักดิ์ศรี
ถึงไม่ครบทั้งห้าตามมาลี
สมัยนี้สำคัญด้วยจรรยา

อันงามรูปงามทรัพย์บังคับยาก
มีน้อยมากก็ตามชาติวาสนา
ถึงร่างกายบุญกรรมก็ทำมา
มิใช่ว่าสรรสร้างได้ดังใจ

คงแต่เพียงที่สามให้งามจิต
งามจริตกิริยาอัชฌาสัย
งามวาจาไพเราะเสนาะใน
ดำรงค์ไว้ให้งามสามประการ

แม้สตรีมีงามเพียงสามสิ่ง
นับว่าหญิงน่ารักสมัครสมาน
ถึงรูปทรัพย์คับแค้นแสนกันดาร
ต้องประมาณว่างามตามตำรา

อีกนัยหนึ่งเครื่องประดับสำหรับนาฎ
ศิลปศาสตร์เป็นของจะต้องหา
งามอะไรก็ไม่เยี่ยมเทียมวิชา
อาจจะพาให้กายสบายเบา

อันสตรีที่งามด้วยความรู้
เป็นที่ชูโฉมเชิดเลิศเฉลา
แต่อย่าเพียรเรียนเล่นพอเป็นเรา
ต้องเรียนเอารู้ดีจึงมีคุณ . . . . . . . . . อัญชัญ


นางวิสาขา ยอดเบญจกัลยาณี


นางวิสาขา เป็นธิดาเศรษฐีธนญชัย นางได้ฟังพระธรรมของศาสดา และได้บรรลุโสดาปัตติผลตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ

นางวิสาขาเจริญวัยขึ้น เป็นหญิงสาวที่สวยที่สุดในชมพูทวีป เป็นหญิงเบญจกัลยาณี คือลักษณะความงาม ๕ ประการ ตามตำราในชมพูทวีป คือ...

ผมงาม ผมของหญิงผู้มีบุญมาก เป็นเช่นกับหางนกยูง แก้ปล่อยระชายผ้านุ่งแล้ว ก็กลับมีปลายงอนขึ้น ชื่อว่า "ผมงาม"

เนื้องาม ริมฝีปากเช่นกับผลตำลึงสุก ถึงพร้อมด้วยสีเรียบชิดสนิทดี ชื่อว่า"เนื้องาม"

ฟันงาม ฟันขาวเรียบไม่ห่างกัน งดงามดุจระเบียบแห่งเพชร ขื่อว่า"ฟันงาม"

ผิวงาม ผิวพรรณของหญิงที่ไม่ลูบไล้ด้วยเครื่องประทินผิว ก็งามประหนึ่งพวงดอกกรรณิการ์ ชื่อว่า"ผิวงาม"

วัยงาม ก็หญิงแม้คลอดลูกแล้ว ๑๐ ครั้ง ก็เหมือนคลอดครั้งเดียว ยังสาวพริ้งอยู่เทียว ชื่อว่า"วัยงาม"

วันหนึ่ง นางวิสาขาได้ออกจากบ้านไปกับหญิงบริวาร ๕๐๐ พอดีฝนตกใหญ่ หญิงบริวาร ๕๐๐ ได้วิ่งหลบฝนเข้าไปในศาลา แต่นางวิสาขาไม่ยอมวิ่งตามหญิงเหล่านั้น ด้วยเกรงว่าจะเสียจรรยากุลสตรี จึงค่อยๆเดินไปจนถึงศาลา จนเนื้อตัวเปียกไปด้วยน้ำฝน

ขณะนั้น มีพราหมณ์ท่านหนึ่ง ได้ถามนางวิสาขาว่า ฝนตก คนอื่นเขาพากันวิ่งหลบฝน แต่ตัวนางมัวเดินทอดน่องอยู่ ไม่ยอมวิ่ง เหมือนคนเกียจคร้าน

นางวิสาขาไม่ได้ถือโกรธ ได้แสดงกิริยานอบน้อม และตอบว่า พ่อพราหมณ์เข้าใจผิดแล้ว ฉันไม่ใช่คนเกียจคร้าน แต่ฉันเป็นคนขยันขันแข็งกว่าหญิงเหล่านั้น ถ้าฉันจะวิ่ง ก็จะวิ่งถึงศาลานั้นก่อนใคร

แล้วเหตุใด นางจึงเดินทอดน่อง ปล่อยให้เปียกฝน พราหมณ์ถามขึ้น
พ่อพราหมณ์ คงไม่เคยได้ยินได้ฟัง ฉันมีเหตุผลของฉันถึงเรื่องบุคคล ๔ จำพวก ถ้าลืมตัววิ่งขณะใด จะหาความงามไม่ได้ และไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง คือ..

๑. พระราชาทรงรับราชาภิเษก มีเครื่องอาภรณ์ประดับ ถ้าวิ่งในเวลาใด ก็จะถูกติเตียนว่า ทำตัวเยี่ยงสามัญชน

๒. ช้างทรงของพระราชา ที่ควาญประดับเครื่องคชาภรณ์ พร้อมให้สมกับตำแหน่ง ถ้าวิ่งเหมือนสัตว์อื่น ก็เป็นสิ่งที่ไมงาม ไม่สมควรแก่ช้างพระราชา

๓. นักบวชบรรพชิต ผู้ประพฤติอยู่แต่ความสงบ มีจริยวัตรสงบเสงี่ยม ถ้าเผลอสติไปวิ่งเข้า ก็จะถูกติเตียนได้ หามีความงามตามสมณวิสัยไม่

๔. สตรี ควรรักษามารยาทให้สมเป็นหญิง ความมีมารยาทเป็นดุจอาภรณ์ประการหนึ่ง ผู้หญิงได้รับการประคับประคองจากบิดา มารดา มีความห่วงใย เปรียบเหมือนสิ่งของมีค่า ควรแก่การส่งไปสู่สามีตระกูลในภายหน้า ถ้าวิ่งเกิดพลาดพลั้งล้มลง ร่างกายบาดเจ็บ บิดา มารดาย่อมเสียใจ ต้องรับภาระในตัวฉัน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ฉันจึงไม่ยอมวิ่ง...พ่อพราหมณ์.

(ที่มา - อรรถกถา ขทฺทกนิกาย คาถาธรรมบท ปุปผวรรคที่ ๔)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อนันตริยกรรม

อนันตริยกรรม สารานุกรมเสรีอนันตริยกรรม หมายถึง กรรม หนักที่สุด (ครุกรรม) ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี 5 อย่าง คือ มาตุฆาต - ฆ่ามารดา ปิตุ...