วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

ประวัติย่อพระอุปคุต

พระอุปคุต ประวัติทางพระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า พระอุปคุตเป็นพระอรหันต์สาวกพระพุทธเจ้า มีอิทธิฤทธิ์ และอภิญญาญาณสูง เป็นเลิศด้านโชคลาภ และปราบภัยมารภูตผีปีศาจ มีศิษย์สาวกที่เป็นพระอรหันต์ถึง 18,000 รูป ท่านประทับจำศีลอยู่ที่ปราสาทแก้วใต้เมืองบาดาล ตามตำนานได้กล่าวเอาไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่าพระอุปคุตจะมาปราบพญามารให้สยบลงได้ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้สร้างมหาวิหารเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขึ้น 84,000 องค์ไว้ทั่วดินแดนชมพูทวีป และได้จัดงานสมโภชฉลองเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นเวลา 7 ปี 7 เดือน 7 วัน แต่พญามารได้มาก่อกวนทำลายพิธี จึงได้กราบอาราธนา พระอุปคุตเถร ขึ้นจากใต้เมืองบาดาล เพื่อเป็นผู้ปราบพญามาร จนพญามารสิ้นฤทธิ์ และยอมเคารพสยบต่อพระพุทธศาสนา พระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้ขจัดเดียรถีที่แฝงมาในพระพุทธศาสนาจนหมดสิ้นไป นำความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนากลับคืนมา พระอุปคุตเถระปางบัวเข็มนี้จึงเป็นปางที่ท่านเข้านิโรจสมาบัติในสะดือทะเล นั่นเอง 

พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม เป็นพระที่เป็นที่นิยมของชาวอินเดีย มอญ และคนไทยทางเหนือและอีสาน สมัยก่อนพระมอญได้นำพระบัวเข็มมาถวายรัชกาลที่ 4 ในตอนที่พระองค์ทรงผนวชอยู่ แม้รัชกาลที่ 5 ก็ยังทรงกล่าวถึงความเป็นมาในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือนด้วย ปัจจุบัน ยังมีความเชื่อในหมู่ชาวล้านนาว่า พระบัวเข็มหรือพระอุปคุตยังมีชีวิตอยู่ ในทุกวันขึ้น 15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ชาวล้านนาจะเรียกว่าเป็น วันเพ็งปุ๊ด พระอุปคุตจะออกบิณฑบาตในร่างเณรน้อย และจะออกมาเวลาเที่ยงคืน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเพณีตักบาตรกลางคืนขึ้น 

ในอดีตกาลนับพันปีนั้น มีกิ่งไม้ทางทิศใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาเกิดหักลงมา พระเถระที่นั่นเห็นว่าปล่อยไว้ก็สูญเปล่า จึงได้นำมาแกะเป็นพระพุทธรูป และเรียกพระนี้ว่าŽพระทักขิณะสาขาŽ และนำไปประดิษฐานที่วัด คนสมัยโบราณนั้นไม่นิยมนำพระพุทธรูปเข้ามาไว้ในบ้าน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงนิยมนำไม้โพธิ์มาแกะสลักเป็นพระพุทธรูป หากต้องการให้เกิดความรู้สึกขลังยิ่งขึ้นก็จะใช้กิ่งไม้จากหน่อศรีมหาโพธิ์ ที่ตายพรายเองที่ชี้ไปทางทิศใต้มาแกะสลัก บางตำราก็ว่าให้ใช้กิ่งที่ชี้ไปทางทิศตะวันออก ชาวพม่ารามัญ นับถือ พระอุปคุตเถระกันเป็นจำนวนมาก จึงมีการสร้างรูปบูชาของท่านขึ้นมา เห็นได้จากพระบูชาพระอุปคุตที่มีศิลปะแบบพม่าอยู่มากมาย ทั้งแบบปางบัวเข็ม และแบบปางจกบาตร 

พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม ศิลปะพม่าปางพระบัวเข็ม ที่มาของการเรียกว่า พระบัวเข็ม นั้นเนื่องจาก เป็นปางที่ พระอุปคุต ท่านเข้านิโรจสมาบัติในสะดือทะเล และเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะที่ดูจะผิดแปลกแตกต่างไปจากพระพุทธรูปองค์อื่นๆมาก พระอุปคุต หรือ พระบัวเข็ม นั้น ท่านจะนั่ง บนฐานกุ้ง หอย ปู ปลา และบนพระเศียรมีใบบัวคว่ำลงมาคลุม มีตุ่มนูนเล็กๆ ขึ้นบริเวณพระนลาฏ พระชานุ พระพาหา และปลายพระบาทขององค์พระ เรียกว่าเข็มŽ อันเป็นเครื่องหมายที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุของพระอรหันต์ต่างๆ จะสังเกตุได้ว่าเข็มติดอยู่ 9 จุด คือที่หน้าผาก 1 ไหล่ 2 สะโพก 2 มือ 2 เข่า 2 เดิมนั้นไม่มีการติดเข็มที่พระอุปคุต แต่ใช้พระบรมสารีริกธาตุติดที่องค์พระ 9 จุดดังกล่าว จึงเป็นที่มาของชื่อพระบัวเข็มŽ 

การบูชา พระอุปคุต นี้มีความหมายเป็น 2 นัยยะ คือ
1.พระอุปคุตท่านเป็นพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ปราบมาร จึงช่วยปกป้องคุ้มครองให้ผู้ที่บูชาห่างไกลจากภัยอันตรายต่าง ๆ
2. คือ ท่านจำศีลอยู่ในน้ำ จึงช่วยให้ผู้บูชาอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ จึงนิยมที่จะหา พระอุปคุต ไว้บูชาติดบ้านเพื่อความสงบร่มเย็น


คำบูชาขอลาภพระอุปคุต


นะโม ๓ จบ

มหาอุปคุตโต จะมหาลาโภ พุทโธลาภัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ราชาปุริโส อิถีโยมานัง นะโมโจรา เมตตาจิตตัง เอหิจิตติจิตตัง ปิยังมะมะ สะเทวะกัง สะพรหมมะกัง มะนุสสานัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ เอหิจิตติ จิตตังพันธะนัง อุปะคุตะ จะมหาเถโร พุทธะสาวะกะ อานุภาเวนะ มาระวิชะยะ นิระภะยะ เตชะปุญณะตา จะเทวะตานัมปิ มะนุสสานันปิ เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ อิมังกายะ พันธะนัง อะทิถามิ ปะอัยยิสสุตัง อุปัจสะอิ ฯ

คำบูชาพระอุปคุต

อุปะคุตโต จะมะหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะลัญจะ โส อิทานิ มะหาเถโร นะมัสสิตะวา ปะติฎฐิโต อะหัง วันทามิ อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะ มาหาเถรัง ยัง ยัง อุปัททะวังชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ

หรือ (แบบย่อ) อุปะคุตโต จะมะหาเถโร ยักขาเทวา นะระปูชิโต โสระโห ปัจจะ ยาทิมปิ มะหาลาภัง ภะวันตุเมฯ(เกิดโชคลาภและคุ้มกันภัยภิบัติอันตรายทั้งปวง)

คำบูชาพระมหาอุปคุต

นโม ๓จบ

พระมหาอุปคุตโต พระมหาอุปคุตตัง จะมหาเถโรสัพเพชะนา พะหูชะนา อิถีชะนา มามังพุทธะจิตตัง จะมหาลาโภ พุทธะธัมโม จะมหาลาภังพุทธะสังฆัง จะมหาสัจจัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ

อุปคุตตะ จะมหาเถโรสัพพะเสน่หาปุพชิโต โสระโห อุปะคุตะ ปัจจะยา ธิมะหิ อุตตะโม โหติ สัพพะทุกขะสัพพะภะยะ สัพพะโรคะ พุทธา ธัมมา สังฆา อานุภาเวนะ วินาสสันติ(นิยมสวดบูชาพระบัวเข็ม หรือพระธาตุอุปคุต)

คำบูชาพระบัวเข็ม

นโม ๓จบ

กิจจะมาคะอุปคุตโต อะมะหาเถโร สัมพุทเธวิยาคะโต มาระรัญจะ โสอิทานิจะมะหาเถโร นะมัดปะสิทตะวาปะ ถิติโกอหัง วันทามิ พาเนวะอุปคุตตัง จะมะ หาเถรังยังยังอุปัทธะวังชาติ วิทังเสนติ อะเสสะโต นโมพุทธายะ พระบัวเข็มจะมะหาเถโรสัพพะลาภังภะวันตุเม อิติปิโสภะคะวา พุทโธชัยโย ธัมโมชัยโย สังโฆชัยโย เมตตาฉิมพาลีจะมะหา เถโร สัพพะลาภัง ตะวันตุเม ฯ ชัยยะตัง ปัตถะพีตับภัง สามินโทโสราชาปูเชมิ ฯ

หรือ จิตติจิตติ มิตติเอหิมะมะ อุปปะคุตโต จะมะหาเถโรนานาปาระมิ สัมมะปัณโน อิติปิโสภะคะวา มะอะอุเมตตา จะมะหาราชา สัพพะสะเนหา จะปูชิตาสัพพะทุกขัง มะหาลาภัง สัพพะโกพัง วินาสสันติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อนันตริยกรรม

อนันตริยกรรม สารานุกรมเสรีอนันตริยกรรม หมายถึง กรรม หนักที่สุด (ครุกรรม) ฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที มี 5 อย่าง คือ มาตุฆาต - ฆ่ามารดา ปิตุ...